มะละกอ

ชื่อสมุนไพร : มะละกอ,
ชื่ออื่นๆ :
มะก้วยเทศ(ภาคเหนือ), หมักหุ่ง(ลาว,นครราชสีมา,เลย), ลอกอ(ภาคใต้), กล้วยลา(ยะลา), แตงต้น(สตูล)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya  L.
ชื่อวงศ์ : Caricaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • มะละกอ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 3-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น
    มะละกอ
  • ใบมะละกอ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม.
  • ดอกมะละกอ ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้
  • ผลมะละกอ รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม พอสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม รับประทานได้ มีเมล็ดมาก เมล็ดกลม สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวใส

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลสุก, ผลดิบ, ยางจากผลหรือจากก้านใบ, ใบ, ราก

สรรพคุณ มะละกอ :

  • ผลสุก รสหวาน เป็นยากันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย บำรุงน้ำนม เจริญอาหาร
  • ผลดิบ รสจืด ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ขับพยาธิ
  • ยางจากผลดิบ เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
  • ราก รสขื่นฉุนเอียน ต้มดื่มแก้ปัสสาวะอักเสบ แก้หนองใน ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร แก้มุตกิตระดูขาว บำรุงน้ำนม
  • ใบ รสเอียน ต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจ ขับพยาธิ แก้ไข้ แก้บิด แก้ปอดบวม แก้ไขข้ออักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ตำพอกแผลเรื้อรัง ฝีหนอง
Scroll to top