งวงสุ่ม

งวงสุ่ม

ชื่อสมุนไพร : งวงสุ่ม
ชื่ออื่นๆ :
ติ่งตั่งตัวผู้ (เหนือ), งวงสุ่มขาว, เมี่ยงชนวนไฟ, สังขยาขาว (พล สท), งวงชุม (ขอนแก่น), มันเครือ (นครราชสีมา), ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี), ดอกโรค (เลย), ข้าวตอกแตก (กลาง), เถาวัลย์นวล (ราชบุรี), ประโยค (ตราด), หน่วยสุด (ใต้), กรูด (สุราษฎร์ธานี), ตะกรูด (นครศรีธรรมราช), มันแดง (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calycopteris floribunda (Roxb.) Lam.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นงวงสุ่ม ไม้เถาเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ สูง 1-5 เมตร เปลือกสีน้ำตาลมีขนปกคลุ่ม กิ่งอ่อนมีขน
  • ใบงวงสุ่ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 6-17 เซนติเมตร ด้านบนมีขนนุ่มหนาแน่นเมื่อยังอ่อนอยู่ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น ปลายใบสอบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบมีลักษณะเป็นคลื่น
  • ดอกงวงสุ่ม ดอกช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวแกมเหลือง ไม่มีกลีบดอก มีริ้วประดับ สีเหลืองปนเขียว 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงเป็น 2 วง วงละ 5 อัน
  • ผลงวงชุ่ม ผลแห้ง รูปกระสวย มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ มีเมล็ดเดียว ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก

สรรพคุณ งวงสุ่ม :

  • ราก ต้มน้ำดื่ม แก้กามโรค
  • ลำต้นและราก ผสมกับ ลำต้นเปล้าลมต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นรางแดง ลำต้นแหนเครือ ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นหนาด ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
  • ใบ แก้แผลเรื้อรัง นำใบตำให้ละเอียดผสมกับเนยทาแผล

องค์ประกอบทางเคมี
ดอกมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเนื้องอก

Scroll to top