แก้ว

ชื่อสมุนไพร : แก้ว
ชื่ออื่น :
กะมูนิง(มลายู-ปัตตานี), แก้วขาว(ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่(ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว(ภาคเหนือ), แก้วลาย(สระบุรี), จ๊าพริก(ลำปาง)
ชื่อสามัญ :   Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Murraya paniculata  (L.) Jack.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแก้ว เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกต้น สีขาว
    เทา แตกเป็นร่องตามยาว
  • ใบแก้ว ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน
  • ดอกแก้ว ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยง ขนาดเล็ก ปลายมน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาวประมาณ1.2 ซม. เรียงซ้อนเหลื่อม ฐานรองดอกรูปวงแหวน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้แบน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียหนา ยาวประมาณ 0.7 ซม. ยอดเกสรรูปโล่ห์ ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร
  • ผลแก้ว รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด เมล็ด รูปไข่ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : รากสด, รากและต้นแห้ง, ก้านและใบสด, กิ่งและใบ

สรรพคุณ แก้ว :

  • ใบ รสร้อนเผ็ดขม ขับโลหิตระดูสตรี บำรุงธาตุ แก้จุกเสียดแน่นในท้อง ขับผายลม ใบสดโขลกปั้นใส่ทวารหนักประมาณ 5 นาที ตัวจะร้อนเหมือนเป็นไข้ ขับพยาธิตัวตืด แก้ท้องเสีย
  • กิ่ง และ ใบ ใช้รักษาโรคเอดส์
  • ก้าน และ ใบสด รสเผ็ดร้อนขม บดแช่แอลกอฮอล์ 1 วัน ใช้ทาหรือเป็นยาฉีดระงับปวด ต้มอมบ้วนปากแก้ปวดฟัน ก้านใช้ทำความสะอาดฟัน
  • ดอก และ ใบ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศีรษะ
  • ราก และ ต้นแห้ง ต้มเคี่ยวกรองเอาน้ำทาปากมดลูกใช้ช่วยเร่งการคลอดบุตร ขับประจำเดือน
  • ราก รสเผ็ดขมสุขุม แก้ปวดสะเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื้น แก้ฝีฝักบัวที่เต้านม แก้ฝีมดลูก แผลคัน พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ภายใน รับประทานขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย” icon=”arrow”]
– ใช้ก้านและใบสด 10-15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
– ใช้ดองเหล้า ดื่มแต่เหล้า ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
– ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น[/su_spoiler]

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ภายนอก” icon=”arrow”]- ใช้ก้านและใบสด ตำพอก หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น
– ใช้ใบแห้งบดเป็นผงใส่บาดแผล
– รากแห้งหรือสด ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
– ใบและก้านสด สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50 % ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่
[/su_spoiler]

[su_spoiler title=”สารเคมีที่พบ :” icon=”arrow”]ใบ เมื่อกลั่นด้วยไอน้ำให้น้ำมันหอมระเหยสีเข้ม 0.01% กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากใบประกอบด้วย :
1 – Cadinene (sesquiterpene) 32.5% bisaboline 18% betacaryophyllene 14% carene 3.5%
5 – quaiazulene 1.2% methyl anthrailate 1.5% euhenol 5% citronellol 4.5% geranoil 9.1% methylsalicylate 3.5%[/su_spoiler]

Scroll to top