ชื่ออื่น : กาฝากมะม่วง, กาฝากมะม่วงพรวน, กาฝากมะม่วงกะล่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrophthoe pentandra (L.) Miq.
ชื่อวงศ์ : Loranthaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- กาฝากมะม่วง เป็นไม้พุ่มจำพวกกาฝากอาศัยเกาะต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง รากกาฝากจัดเป็นรากเบียน (haustorium) ใช้เกาะยึดกับลำต้นหรือกิ่งของไม้ชนิดอื่น ด้วยการแทงรากเชื่อมกับระบบลำเรียงน้ำ และอาหารในชั้นโฟเอ็ม และไซเล็มของไม้อื่น รากนี้จะคอยดูดน้ำ และสารอาหารที่ลำเลียงผ่านท่อลำเลียง แล้วส่งมาเลี้ยงลำต้น และใบของตนเองให้เจริญเติบโต เป็นเถาเลื้อย ลำต้นมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 50-100 ซม. หรือมากกว่า ลำต้นแตกกิ่งขนาดเล็กออกจำนวนมาก
- ใบกาฝากมะม่วง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบแทงออกใบเดี่ยวบนกิ่งสลับข้างกัน ใบมีรูปไข่ ค่อนข้างหนา และมีสีเขียวเข้ม โคนใบเรียว ปลายใบมนหรือบางชนิดปลายใบแหลม ขนาดกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 5-7 ซม. แผ่นใบเรียบ และค่อนข้างเป็นมัน
- ดอกกาฝากมะม่วง มีขนาดเล็ก แทงออกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ดอกมีกลีบดอกสีเหลืองหรือส้มแดง แลดูสวยงาม ดอกกาฝากเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียทำให้ผสมตัวเองในดอก และผสมข้ามดอกได้ ดอกจะออกต่อเนื่องในช่วงเดือนกรกฎาคม-มกราคม ทั้งนี้ ในช่วงที่ออกดอกมักจะได้รับการผสมเกสรจากนกที่มาดูดน้ำหวานจากดอก เช่น นกกินปลี และนกเขียวตอง
- ผลกาฝากมะม่วง มีลักษณะรูปไข่ ด้านในประกอบด้วยเนื้อผล และเมล็ดขนาดเล็กแทรกอยู่ เมล็ดมีสีส้มอมน้ำตาล เมล็ดมีขนาดเล็ก และเบา ไม่มีเปลือกหุ้มเมล็ด แต่จะมีเมือกเหนียวหุ้มเมล็ด เมล็ดมักติดมากับนกชนิดต่างๆที่มาเกาะบนต้นไม้ หรือ ผลของกาฝากบางชนิดมีรสหวาน นกสามารถกินเป็นอาหารได้ ทำให้เมล็ดถูกขับถ่ายออกมาปนกับมูลนก จากนั้น เมล็ดจะเกาะติดเปลือกไม้ และงอกบนเปลือกของลำต้นหรือกิ่งของไม้อื่นเพื่ออิงอาศัย
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, กิ่งและใบ, ต้น
สรรพคุณ กาฝากมะม่วง :
- ราก ขับฟอกโลหิต ลดความดันโลหิตสูง
- ต้น, ใบ แก้โรคปัสสาวะพิการ แก้ลม ประสาทมึนงงในสมอง แก้ความดันโลหิตสูง ขับระดูขาว
- ทั้งต้น ลดความดันโลหิตสูง รักษาแผล สมานแผล แก้เบาหวาน
- กิ่งและใบ รสฝาดขมเปรี้ยว แก้โรคเบาหวาน แก้ปวดศีรษะ แก้โรคความดันโลหิตสูง
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ยาลดความดันกาฝากมะม่วง” style=”fancy”]กาฝากมะม่วงที่หั่นตากแดดเก็บไว้ 2 กำมือ ต้มในหม้อดินเติมน้ำพอท่วม พอเดือดหรี่ไฟ เคี่ยวต่อให้เดือดอ่อนๆ ประมาณ 15 นาที กินครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น หิวน้ำก็ดื่มน้ำนี้แทนน้ำได้ กินต่อเนื่อง และวัดความดันสม่ำเสมอ[/su_spoiler]