ชื่อสมุนไพร : กำลังหนุมาน
ชื่ออื่น : กำลังขุนมาน (นครศรีธรรมราช), สะลีกี่บูโต๊ะ (มลายู-นราธิวาส), กำลังราชสีห์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena conferta Ridl.
ชื่อวงศ์ : AGAVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกำลังหนุมาน เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร เปลือกต้นมีสีเทา เนื้อไม้สีขาวนวล เป็นไม้เกิดตามป่าดิบทางภาคเหนือ
- ใบกำลังหนุมาน ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปแถบ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 60-70 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม
- ดอกกำลังหนุมาน ช่อดอกเป็นช่อโปร่ง ออกตามปลายยอด ช่อแขนงยาวประมาณ 1 ซม. มี 3-4 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรวม 6 กลีบ สีขาว โคนติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็นกลีบแคบๆ 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดอยู่ที่โคนหลอดดอก อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูตรงกลางทางด้านหลัง แกว่งได้ รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียคล้ายเส้นด้าย ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มกลม
- ผลกำลังหนุมาน ผลกลม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้, ราก
สรรพคุณ กำลังหนุมาน :
- เนื้อไม้, ราก รสขมชุ่ม แก้น้ำดีพิการ นอนสะดุ้งผวาหลับๆตื่นๆ ร้อนหน้า น้ำตาไหล บำรุงกำลังให้ทำกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นให้เจริญแข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงกำหนัด ทำหลอดเลือด และเส้นเอ็น ให้เจริญแข็งแรง ทำให้กักเก็บปริมาณเลือดที่ไหลเข้าในองคชาติในขณะที่แข็งตัวได้นานขึ้นส่งผลให้ช่วยชะลอในการหลั่งใช้ในการลดอุบัติการล่มปากอ่าว แก้น้ำดีพิการ นอนสะดุ้งผวา หลับๆ ตื่นๆ ร้อนหน้าน้ำตาไหล บำรุงกำลัง บำรุงกล้ามเนื้อ เป็นยาอายุวัฒนะ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
- วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.
- เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. 2522. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณยาเทศและยาไทย. สำนักพิมพ์ เกษมบรรณกิจ:กรุงเทพมหานคร.