ว่านหางจระเข้

ชื่อสมุนไพร : ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่นๆ
:  ว่านไฟไหม้, หางตะเข้
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill
ชื่อวงศ์ : Asphodelaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นว่านหางจระเข้ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นสั้น
  • ใบว่านหางจระเข้ เรียงซ้อนเป็นกอ ข้อและปล้องสั้น สูงประมาณ 0.5-1 เมตร ต้นแก่จะมีหน่อเล็กๆของต้นอ่อนแตกออกมา ใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่รอบต้น กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกว้าง สีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ด้านหน้าแบน ด้านหลังโค้งนูน ใบอ่อนมีประสีขาว ขอบใบมีหนามแหลมเล็กขึ้นห่างๆกัน ผิวใบหนา เนื้อใบหนาอวบน้ำมาก ภายในเนื้อใบมีวุ้นใสเป็นเมือก เมื่อกรีดลงไปบริเวณโคนใบจะมีน้ำยางใสสีเหลืองไหลออกมา
    ว่านหางจระเข้
  • ดอกว่านหางจระเข้ ออกเป็นช่อตั้งยาว 60-90 เซนติเมตร แทงช่อออกจากกลางต้น ก้านชูช่อดอกยาว ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง รูปแตร กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ดอกสีส้มไม้ล้มลุกอ่อน บานจากล่างขึ้นบน แต่ละดอก กว้าง 7 มิลลิเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร
  • ผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้ง แตกได้ รูปกระสวย ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา แต่มีการนำมาปลูกในประเทศเขตร้อนทั่วไป

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยางในใบ, น้ำวุ้น, เนื้อวุ้น, เหง้า

สรรพคุณ ว่านหางจระเข้ :

  • ใบ รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
  • ทั้งต้น รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
  • ราก  รสขมขื่น กินถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด ช้ำรั่ว
  • ยางในใบ น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้งเรียกว่า “ ยาดำ “  มีรสเบื่อ และเหม็นขม ใช้กินเป็นยาถ่ายยาระบายที่ออกฤทธิ์แรงมากควรใช้ในปริมาณที่น้อยมาก
  • น้ำวุ้นจากใบ ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
  • เนื้อวุ้น เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
  • เหง้า ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุุตกิด

[su_label]ใช้เป็นยาภายใน[/su_label]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : เป็นยาถ่าย” icon=”arrow-circle-1″]
ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม คลื่นไส้ อาเจียน น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบกับตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ
วิธีการทำยาดำ
ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่ และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก) ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน
ยาดำ มีลักษณะสีแดงน้ำตาล จนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขม คลื่นไส้ อาเจียน
สารเคมี – สารสำคัญในยาดำเป็น G-glycoside ที่มีชื่อว่า barbaloin (Aloe-emodin anthrone C-10 glycoside)
ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่าย – 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม ประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ” icon=”arrow-circle-1″]แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : แก้อาการปวดตามข้อ” icon=”arrow-circle-1″]แก้อาการปวดตามข้อ โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคนบอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที แต่หลายๆ คนบอกว่า อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานติดต่อกันสองเดือนขึ้นไป สำหรับใช้รักษาอาการนี้ ยังไม่ได้ทำการวิจัย[/su_spoiler]
[su_label type=”warning”]ใช้สำหรับเป็นยาภายนอก[/su_label]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก” icon=”arrow-circle-1″]รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก ใช้วุ้นในใบสดทา หรือแปะที่แผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลา 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมาก จะบรรเทาปวดแสบ ปวดร้อน หรืออาการปวดจะไม่เกิดขึ้น แผลอาจไม่มีแผลเป็น (ระวังความสะอาด)[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี” icon=”arrow-circle-1″]
*ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี – ป้องกันการถูกแดดเผา ใช้ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้ แต่การใช้ใบสดอาจจะทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าจะลดการทำให้ผิวหนังแห้ง อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืช หรืออาจจะเตรียมเป็นโลชันให้สะดวกในการใช้ขึ้น
*รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทานานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่ จะทำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : แผลจากของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝีปาก” icon=”arrow-circle-1″]แผลจากของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝีปาก เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด บาดแผลก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน นำวุ้นจากใบแปะตรงแผลให้มิด ใช้ผ้าปิด หยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้เปียกอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : แผลจากการถูกครูด หรือถลอก” icon=”arrow-circle-1″]แผลจากการถูกครูด หรือถลอก แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก ใช้ใบว่านหางจระเข้ล้างให้สะอาด ผ่าเป็นซีก ใช้ด้านที่เป็นวุ้นทาแผลเบาๆ ในวันแรกควรทาบ่อยๆ จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ และแผลหายเร็วขึ้น[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : รักษาริดสีดวงทวาร” icon=”arrow-circle-1″]รักษาริดสีดวงทวาร นอกจากจะช่วยรักษาแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวด อาการคันได้ด้วย โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง ควรปฏิบัติหลังจากการอุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ถ้าจะให้เหน็บง่าน นำไปแช่ตู้เย็น หรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย[/su_spoiler]
[su_quote]ข้อควรระวังในการใช้ : ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้ [/su_quote]

Scroll to top