กะเม็งตัวผู้

กะเม็งตัวผู้

ชื่อสมุนไพร : กะเม็งตัวผู้
ชื่ออื่น ๆ 
: ฮ่อมเกี่ยวคำ (เชียงใหม่), กะเม็งดอกเหลือง (คนไทย), อึ้งปั้วกีเชา (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia chinensis (Osbeck). Merr.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกะเม็งตัวผู้ เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นเลื้อยและชูขึ้น ลำต้นสูงประมาณ 4-20 นิ้ว
  • ใบกะเม็งตัวผู้ มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบเป็นหยักตื้น หลังใบและใต้ท้องใบ มีขนขึ้นประปราย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้ว ยาวประมาณ 0.5-3 นิ้ว ก้านใบสั้น
  • ดอกกะเม็งตัวผู้ ออกเป็นดอกเดี่ยว บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก กลีบดอกวงนอกเป็นรูปรางน้ำ ปลายกลีบดอกเป็นหยัก 3 หยัก กลีบดอกยาว 8-11 มิลลิเมตร กลีบดอกวงในเป็นรูปท่อ ปลายกลีบดอกหยักเป็น 5 แฉก กลีบดอกยาว 4 มม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้โผล่พ้นจากกลีบดอก และเกสรตัวเมียจะแยกออกเป็นแฉกโค้ง ดอกเมื่อบานเต็มมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร
    กะเม็งตัวผู้
  • ผลกะเม็งตัวผู้ มีรูปลักษณะสอบแคบ ผิวของมันขรุขระไม่เรียบ มีขนาดยาวประมาร 4-5 มิลลิเมตร มีระยางค์เป็นรูปถ้วย ขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น

สรรพคุณ กะเม็งตัวผู้ :

  • ใบ รสเอียน ต้มหรือชงรับประทาน แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ บำรุงร่างกาย แก้โรคผิวหนัง แก้ผม
    ร่วง
  • ทั้งต้น รสเอียน ทำเป็นผงหรือยาชงรับประทาน แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต บำรุงโลหิต แก้กระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะคราก ทำให้น้ำบริสุทธิ์ ตำผสมข้าวพอกแก้บวม

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : 

  1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร. โอเดียนสโตร์:กรุงเทพมหานคร.
  2. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2539. พจนานุกรม สมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4 .ประชุมทองการพิมพ์: กรุงเทพมหานคร.
Scroll to top