โกฐน้ำเต้า

ชื่ออื่นๆ : โกฐน้ำเต้า, ตั่วอึ๊ง (จีนแต้จิ๊ว) , ต้าหวาง (จีนกลาง) , เยื่อต้าหวาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rheum palmatum L.
ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นโกฐน้ำเต้า เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงของต้นประมาณ 2 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขามากและมีใบเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเรียบมัน มีลายเล็กน้อยและไม่มีขนปกคลุม มีเหง้าอยู่ใต้ดินขนาดป้อมและใหญ่ เนื้อนิ่ม ลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นโพรงกลวงและมียางสีเหลือง
  • ใบโกฐน้ำเต้า ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ เป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ มีประมาณ 3-7 แฉก มีขนาดกว้างและยาวใกล้เคียงกัน ใบมีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อยเล็กน้อย หน้าใบและหลังใบมีขนขึ้นปกคลุม ก้านใบมีขนาดใหญ่และยาว ตรงบริเวณก้านใบมีขนสีขาวปกคลุมอยู่
  • ดอกโกฐน้ำเต้า ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งก้าน ดอกเป็นข้อ ๆ ในก้านช่อกิ่งหนึ่งจะมีประมาณ 7-10 ช่อ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ดอกย่อยจะแยกออกเป็นแฉก 6 แฉก ดอกมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นชั้น 2 ชั้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 9 อัน
  • ผลโกฐน้ำเต้า ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม บริเวณเหลี่ยมจะมีเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ ผลเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 7-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 9-10 มิลลิเมตร โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าและรากแห้ง

สรรพคุณ โกฐน้ำเต้า :

  • รสฝาดมัน แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะและอุจจาระให้เดินสะดวก ระบายท้อง รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้เจ็บตา และแก้ริดสีดวงทวาร ข้อควรระวัง เนื่องจากโกฐน้ำเต้ามีฤทธิ์เป็นยาถ่ายรุนแรง

ก่อนใช้สมุนไพรชนิดนี้ ควรจะนำไปนึ่งและตากแห้งให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้เป็นยา

 

Scroll to top