ผักขมหิน

ชื่อสมุนไพร : ผักขมหิน
ชื่ออื่นๆ :
ปังแป, ผักเบี้ยหิน (เหนือ), ผักปั๋งดิน (เชียงใหม่), ผักขมฟ้า (สุโขทัย), ผักโขมหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boerhavia diffusa L.
ชื่อวงศ์ : NYCTAGINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักขมหิน เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตั้งตรงหรือทอดเลื้อยขนานไปตามพื้นดิน ผิวเรียบหรือมีขนบริเวณปลายกิ่ง ลำต้นกลมสีเขียวปนแดง ยอดอ่อนมีขน
  • ใบผักขมหิน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ผักขมหินเซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร โคนใบกลมหรือตัด ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียว ท้องใบสีนวล ตลอดแนวขอบใบมีต่อมสีแดง

 

 

  • ดอกผักขมหิน ดอกช่อแยกแขนง ลักษณะเป็นช่อกระจุกคล้ายซี่ร่มแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก รูประฆัง กลีบรวมสีขาวชมพู หรือแดง กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 10 กลีบ ปลายมน กลีบรวมยาวประมาณ 0.2 ซม. ก้านช่อดอกมีขน  เกสรเพศผู้ 2-3 อัน ยื่นพ้นกลีบรวมเล็กน้อย
  • ผลผักขมหิน เป็นผลแห้ง มีส่วนโคนกลีบรวมหุ้มอยู่ รูปคล้ายกระบอง เป็นสัน 5 สันตื้น ๆ มีต่อมทั่วไป ยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ผิวมีขนจับดูจะเหนียวมือ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น, ราก

สรรพคุณ ผักขมหิน :

  • ใบ ตำพอกฝี  หรือใช้รับประทานเป็นผัก
  • ทั้งต้น ไทยใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำบวม บำรุงโลหิต ขับลม ในประเทศอินเดียใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ โรคท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นโรคไต
  • ราก แก้ลมอัณฑพฤกษ์ เจริญไฟธาตุ ขับเสมหะ และริดสีดวงทวาร
Scroll to top