มะกา

ชื่อสมุนไพร : มะกา
ชื่ออื่นๆ :
ก้องแกบ (เชียงใหม่), ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น), ซำซา มะกาต้น (เลย), มัดกา มาดกา (หนองคาย), มาดกา (นครราชสีมา), กอง กองแกบ (ภาคเหนือ), ส่าเหล้า สิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia ovata Decnc.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว
  • ใบมะกา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือมะกาเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

 

  • ดอกมะกา ออกดอกเดี่ยวหรืออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง
  • ผลมะกา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เปลือกต้น, แก่น

สรรพคุณ มะกา :

  • ใบ รสขมขื่น ต้มดื่มถ่ายเสมหะ และโลหิต ยาระบายอย่างอ่อน ถ่ายพิษตานซาง ถ่ายพิษไข้ ชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ ใบสดต้องปิ้งไฟก่อนใช้ไม่ให้ไซร้ท้อง
  • เปลือกต้น รสขมฝาด แก้กระษัย สมานลำไส้
  • แก่น รสขม แก้กระษัย ไตพิการ ฟอกโลหิต ระบายอุจจาระธาตุ ขับเสมหะ
Scroll to top