มะคำไก่

ชื่อสมุนไพร : มะคำไก่
ชื่ออื่นๆ :
มะองนก, มักค้อ(ขอนแก่น), มะคำดีไก่, ประคำไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drypetes roxburghii (Wall.) Hurusawa
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะคำไก่  เป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 8-10 เมตร เรือนยอดรูปรีค่อนข้างโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล  กิ่งทอดห้อยลง
  • ใบมะคำไก่ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ระนาบเดียว รูปขอบขนานแกมรูป หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่มเบี้ยว ขอบหยักมน หรือจักซี่ฟัน เป็นคลื่นเล็กน้อย
    มะคำไก่
  • ดอกมะคำไก่ ออกดอกแบบช่อกระจุก ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ดอกแยกเพศต่างต้นหรือบ้างครั้งอาจสมบูรณ์เพศ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากันมี ขนที่ขอบเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอก เพศเมีย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากัน
  • ผลมะคำไก่ รูปทรงกลม สีขาวอมเทา  สุกสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, เปลือกราก, ทั้ง 5

สรรพคุณ มะคำไก่ :

  • ใบ  รสขมเบื่อเล็กน้อย ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย
  • ราก  เปลือกราก  รสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายใน เช่น แก้วัณโรค ฝีหรือมะเร็งในตับ
  • ทั้ง 5 รสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงภายนอกภายใน แก้ฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ
Scroll to top