มะค่าแต้

ชื่อสมุนไพร : มะค่าแต้
ชื่ออื่นๆ :
มะค่าหยุม มะค่าหนาม (ภาคเหนือ), แต้ (ภาคอีสาน), มะค่าหนาม มะค่าแต้ มะค่าลิง (ภาคกลาง), กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา), กอเก๊าะ ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์), กรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง), แต้หนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sindora siamensis Teijsm.ex Miq.
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะค่าแต้ เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง มีเรือนยอดเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาคล้ำ
    มะค่าแต้
  • ใบมะค่าแต้ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 3-4 ใบ แกนช่อใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบเว้าตื้น โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร แผ่นใบหนา แผ่นใบด้านบนมีขนหยาบ ส่วนด้านท้องใบมีขนนุ่ม
  • ดอกมะค่าแต้ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว มีกลีบเลี้ยงหนา 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 ก้าน และมี 2 ก้านใหญ่กว่าก้านอื่น ๆ ด้านนอกดอกมีขนสีน้ำตาล ก้านดอกยาวประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตร
  • ผลมะค่าแต้ ออกผลเป็นฝักเดี่ยวแบนค่อนข้างกลม ที่ผิวเปลือกมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ผลเป็นรูปไข่กว้างหรือเป็นรูปโล่ โคนเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร พอแห้งจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดสีดำประมาณ 1-3 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ปุ่ม, เมล็ด

สรรพคุณ มะค่าแต้ :

  • ปุ่ม  รสเมาเบื่อ ต้มดื่มแก้พยาธิ แก้โรคผิวหนัง ต้มรมให้หัวริดสีดวงทวารฝ่อ
  • เมล็ด  รสเมาเบื่อสุขุม แก้โรคผิวหนัง ทำให้หัวริดสีดวงแห้ง
Scroll to top