เสม็ดขาว

ชื่อสมุนไพร : เสม็ดขาว
ชื่ออื่นๆ :
 เสม็ด, กือแล, เม็ด, เหม็ด, Cajuput tree, Milk wood, Paper bark tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T. Blake
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเสม็ดขาว เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัด มีความสูงของต้นประมาณ 5-25 เมตร มีเรือนยอดแคบเป็นพุ่มทรงสูง ลำต้นมักบิด เปลือกลำต้นเป็นสีขาวนวลจนถึงสีน้ำตาลเทา เปลือกเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงซ้อนกันเป็นปึกหนานุ่ม ลอกออกได้เป็นแผ่น ๆ ส่วนเปลือกชั้นในบางและเป็นสีน้ำตาลอ่อน ตามยอดอ่อน ใบอ่อน และกิ่งอ่อนมีขนสีขาวเป็นมันคล้ายเส้นไหมขึ้นปกคุม และกิ่งมักห้อยลง
    เสม็ดขาว
  • ใบเสม็ดขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมนหรือเป็นรูปลิ้ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนาและกรอบ เป็นสีเขียวอมเทา มีเส้นใบหลักประมาณ 5-7 เส้น ออกจากโคนใบจรดปลายใบ มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนใบอ่อนมีขนคล้ายเส้นไหมขึ้นปกคลุม
    เสม็ดขาว
  • ดอกเสม็ดขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออกตามซอกใบหรือใกล้กับปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีขนาดเล็ก ดอกประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยงดอกยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกัน ส่วนดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปช้อนแกมรูปไข่ เกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีขาวและมีจำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้ยาวพ้นกลีบดอกเป็นพู่ ก้านชูช่อดอกมีขนสีขาว
    เสม็ดขาว
  • ผลเสม็ดขาว ผลเป็นผลแห้ง แตกออกได้เป็นพู 3 พู ลักษณะของผลเป็นรูปถ้วย ปลายปิด ขนาดเล็กและแป้น มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 0.4 เซนติเมตร ผลแก่เป็นสีน้ำตาลอมเทาถึงสีคล้ำ ผลแห้งแตกด้านบน ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก
    ผลเสม็ดขาว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : : น้ำมันหอมระเหยจากใบ, ใบ

สรรพคุณ เสม็ดขาว :

  • น้้ามันหอมระเหย ที่กลั่นได้จากใบเสม็ด รสขมร้อน กลิ่นคล้ายการบูร เรียกน้ำมันเขียว (Cajuput oil) ใช้เป็นส่วนผสมของยาหม่องน้ำมันมวย ยาดม ใช้ทายา ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ท ายาแก้ปวดหัว ปวดหู ปวดฟัน ยารักษาโรคผิวหนัง รักษาสิว ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าแมลง
    ใช้ภายใน เป็นยากระตุ้น ขับลม แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อในกระเพาะ ลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ท้องอืด ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ และขับพยาธิ
  • ใบ ใช้ต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา ช่วยรักษาโรคปวดเมื่อย ดีซ่าน หอบ ถ่ายพยาธิ แก้ไอ และช่วยให้มดลูกของสตรีหลังคลอดบุตรเข้าอู่เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังใช้ใบและยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก และใช้ทำธูปไล่ยุง
Scroll to top