ชื่อสมุนไพร : แก้วลืมวาง
ชื่ออื่นๆ : ผีเสื้อ (กรุงเทพฯ), เก็งชุ้งล้อ (จีน-กรุงเทพฯ), ฉวีม่าย (จีนกลาง), สือจู๋ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus chinensis Linn.
ชื่อวงศ์ : CARYOPHYLLACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นแก้วลืมวาง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ร่วนซุย
- ใบแก้วลืมวาง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน โคนใบเชื่อมติดกันเล็กน้อย ไม่มีก้านใบ ใบมีขนาดเล็ก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบ ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
- ดอกแก้วลืมวาง ออกดอกบริเวณปลายยอด มีประมาณ 1-3 ดอก ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก ยาวประมาณ 16-24 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็นแฉกแหลม ตั้งตรงมี 5 แฉก และกลีบดอกมีขนาดยาวประมาณ 1-25 มิลลิเมตร ขอบกลีบดอกหยักเป็นซี่ ๆ ห่างกัน มีทั้งสีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน หรือสีแดงแกมสีแดงดำ กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ท่อเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 2 แฉก
- ผลแก้วลืมวาง ผลหุ้มอยู่ในโคนกลีบ ปลายผลหยักเป็นเลื่อย มี 4 ซีก สีแห้ง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น
สรรพคุณ แก้วลืมวาง :
- ทั้งต้น รสขม ใช้แก้โรคเรื้อน แผลเปื่อย และโรคมะเร็วผิวหนัง ขับปัสสาวะ เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ไต กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้เล็ก ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน เป็นยาขับระดูของสตรี รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
ในจีนและอินโดจีน เป็นยาขับระดู ใช้กับบาดแผลและรักษาโรคโกโนเรีย ไม่ใช้กับหญิงมีครรภ์ เพราะจะทำให้แท้ง
[su_spoiler title=”ตำรับยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]จะใช้แก้วลืมวาง, ผักกาดน้ำ, ชะเอม และรากต้นพุดตาน นำมาต้มกับน้ำรับประทาน[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”แก้แผลเน่าเปื่อย” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]แก้แผลเน่าเปื่อย ด้วยการใช้ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำล้างแผล[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”ยารักษาฝี” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]ยารักษาฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี[/su_spoiler]