กระดูกไก่

กระดูกไก่

ชื่ออื่น ๆ : กระดูกไก่ (ภาคกลาง), หอมไก่ (ภาคเหนือ)
ชื่อพ้อง : C. Officinalis Bl.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chloranthus erectus (Bucg.-Ham) Verdc.
ชื่อวงศ์ : CHLORANTHACEAE

กระดูกไก่ กระดูกไก่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระดูกไก่ เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 0.5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ลักษณะคล้ายกระดูกไก่ ทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นคล้ายกับการบูร
  • ใบกระดูกไก่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปหอก รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบและโคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบดูเหมือนเรียบแต่จะมีหยักเป็นฟันเลื่อยแบบตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียวสด หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มและเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่าหลังใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 เซนติเมตร
  • ดอกกระดูกไก่ ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ
  • ผลกระดูกไก่ มีลักษณะยาวประมาณ 6-7 มม. ผลสดจะมีสีขาว ภายในเมล็ดมี 1 เมล็ด เป็นเมล็ดที่แข็ง ค่อนข้างกลม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก, ใบ

สรรพคุณ กระดูกไก่ :

  • ทั้งต้น ใช้เป็นยากระตุ้น ยาระงับการเกร็งของกล้ามเนื้อใช้นำมาต้มกับเปลือกของพวกอบเชย (cinnamomum) รับประทาน
  • รากและใบ ใช้แก้ไข้ กามโรค ยาขับเหงื่อ นำมาชงเป็นชาดื่ม

กระดูกไก่

[su_spoiler title=”ประโยชน์ของกระดูกไก่” style=”fancy”]
ใบอ่อนสามารถนำมากินเป็นผักร่วมกับลาบได้
ใช้ทำสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกบ่อย ปลูกเลี้ยงได้ง่าย[/su_spoiler]

[su_quote]ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นผสมกับหัวยาข้าวเย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มต่างชาเป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง[/su_quote]

[su_quote]กระดูกไก่พบได้ทั่วไป ตั้งแต่เนปาล ยูนนาน หมู่เกาะอันดามัน ไปจนถึงเกาะนิวกินี ก่อนที่จะนำต้นชามาปลูก ชาวชวานำใบและเหง้าของกระดูกไก่ไปชงน้ำชาดื่ม เมื่อเนเธอร์แลนด์เข้ามาปกครองดัตช์อีสต์อินดีสได้ห้ามประชาชนปลูกกระดูกไก่เพราะจะให้ปลูกต้นชาแทน ในมาเลเซียและอินโดนีเซียใช้ทำชาสมุนไพร ใช้ขับเหงื่อเพื่อลดไข้ ในกาลีมันตันใช้กิ่งต้มน้ำดื่มเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ชาวไทยภูเขาใช้ต้มเป็นยารักษามาลาเรีย ใช้ทำสีย้อมผ้าได้สีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ ทุกส่วนของลำต้นเมื่อขยี้ มีกลิ่นคล้ายการบูร รสค่อนข้างขม ใบมีน้ำมันหอมระเหยและกรดคูมาริก คล้ายกับที่พบในพืชวงศ์พริกไทย[/su_quote]

Scroll to top