ก่อหิน

ชื่อสมุนไพร : ก่อหิน
ชื่ออื่นๆ :
ก่อกินลูก (ตรัง), ก่อตาหมู, ก่อหมาก (อุบลราชธานี), ก่อใบเลื่อม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ก่อหิน (จันทบุรี), ก่อเหิบ (นครพนม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Castanopsis piriformis Hickel & A. Camus
ชื่อวงศ์ : Fagaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นก่อหิน ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลหรือชมพูอ่อน 
    ก่อหิน
  • ใบก่อหิน ใบเดี่ยวเรียงแบบสลับ รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 7-10 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบสอบถึงแหลมทู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ก้านงอเล็กน้อยและบวมบริเวณโคนก้าน 
  • ดอกก่อหิน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยไม่มีก้านดอก สีขาวปนเหลืองเป็นกระจุกละ 3-5 ดอก มีกลิ่นฉุน ร่วงง่าย ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต่างช่อหรือร่วมช่อ หากร่วมช่อ ช่อดอกเพศเมียอยู่โคนช่อ ช่อดอกเพศผู้มักแยกแขนงมาก กลีบเลี้ยง แยกกันอิสระ 6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนด้านนอก เกสรเพศผู้ 12 อัน ผิวเกลี้ยง รังไข่รูปลูกข่าง มีขนปกคลุมหนาแน่น มี 3 ช่อง มีออวุล 2 เมล็ด ยอดเกสรเพศเมียมี 3 อัน 
  • ผลก่อหิน ผลเชื่อมต่อกันเป็นกลุ่มเบียดอัดกันแน่นบนก้านที่อ้วนสั้น ช่อผลยาว 10-15 เซนติเมตร ผลแก่แข็งมาก ผิวเกลี้ยง รูปกลมหรือรี คล้ายรูปลูกข่าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 0.5-1 เซนติเมตร กาบหุ้มผลสีเขียวอ่อนหุ้มมิดตัวผล ผิวกาบผลมีแนวเส้นคดโค้งไปมา กาบหุ้มจะแยกจากปลายสู่โคนเมื่อผลแก่จัด แต่ละกาบหุ้มมีผล 1 ผล พบตามป่าสนผสม ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ที่ความสูง 250-950 เมตร ออกดอกราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม ติดผลราวเดือนมิถุนายนถึงกันยายน

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  ราก, ผลแก่

สรรพคุณ ก่อหิน :

  • ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ปัสสาวะขัด 
  • ผลแก่ รับประทานได้ โดยนำเมล็ดมาต้ม หรือคั่วให้สุก มีแป้งอยู่มาก  และนำมาทำเครื่องประดับ 

 

เปลือกก่อหิน มีน้ำฝาด  ใช้ในการฟอกหนัง  หรือย้อมแหอวน


ภาพประกอบ : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Scroll to top