ว่านมหาเมฆ

ชื่อสมุนไพร : ว่านมหาเมฆ
ชื่ออื่นๆ :
ขมิ้นดำ, ว่านขมิ้นดำ, กระเจียวแดง, มหาเมฆ, อาวแดง, ขิงเนื้อดำ, ขิงดำ, ขิงสีน้ำเงิน, เหวินจู๋ เอ๋อจู๋
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aeruginosa Roxb.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นว่านมหาเมฆ เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า “ขิงดำ” หรือ “ขิงสีน้ำเงิน” ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร
  • ใบว่านมหาเมฆ ใบจะแทงขึ้นมาจากเหง้าที่โคนใบจะมีกาบใบสีม่วงอมเขียวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 4-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-60 เซนติเมตร ตรงกลางใบจะมีสีม่วงแดง กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ไปจนถึงปลายใบ
    ว่านมหาเมฆ
  • ดอกว่านมหาเมฆ ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าและมีกาบใบห่อหุ้มอยู่ กาบใบยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมรี กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูแดง มีประมาณ 20 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ บริเวณโคนกลีบดอกเป็นสีขาว กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 1 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่มี 3 รัง
  • ผลว่านมหาเมฆ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สามเหลี่ยม ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกลมมีเนื้อสีขาวใสหุ้มอยู่

ส่วนที่ใช้เป็นยา  : เหง้า

สรรพคุณ ว่านมหาเมฆ :

  • เหง้า หั่นเป็นแว่นสดหรือตากแห้งต้มน้ำดื่มแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้หืดหอบหายใจไม่ปกติ แก้ไข้ แก้อาเจียน หรือหั่นดองเหล้าดื่มรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง และรักษาอาการท้องร่วงได้ดี ให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่มเป็นยารัดมดลูก รักษาอาการปวดและอักเสบมดลูก และเข้าตำรับยาบำรุงกำลัง ขับลม บำรุงร่างกาย
Scroll to top