เถาเอ็นอ่อน

ชื่อสมุนไพร : เถาเอ็นอ่อน
ชื่ออื่น ๆ 
: กวน(ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เครือเถาเอ็น(เชียงใหม่), ตีนเป็ดเครือ(ภาคเหนือ), เมื่อย(ภาคกลาง), นอออหมี(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หญ้าลิเลน(ปัตตานี), หมอนตีนเป็ด(สุราษฎร์ธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.
ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเถาเอ็นอ่อน เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น เป็นไม้เลื้อยจำพวกเถาเนื้อแข็ง เถาลำต้นกลม เปลือกเถาเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลอมสีดำหรือเป็นสีแดงเข้มและมีลายประตลอดเถา ยาวประมาณ 4-5 เมตร ก้านเล็ก มีสีเทาอมเขียวและไม่มีขนปกคลุม เมื่อเถาแก่เปลือกจะหลุดลอกออกเป็นแผ่น ๆ มียางสีขาวข้นทั้งต้น
  • ใบเถาเอ็นอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบมนมีหางสั้น โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเรียบเป็นมันและลื่น ท้องใบเรียบเป็นสีเขียวนวล ใบอ่อนมีขนปกคลุม ส่วนใบแก่ไม่มีขน เส้นใบตามขวางจะเป็นเส้นตรงไม่โค้ง ใบหนึ่งจะมีประมาณ 30 คู่ ส่วนก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
  • ดอกเถาเอ็นอ่อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเป็นสีขาวอมเหลือง ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ
  • ผลเถาเอ็นอ่อน ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระสวย กลมยาว ยาวประมาณ 6.5-10 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางฝักประมาณ 1-2 เซนติเมตร ฝักมีเนื้อแข็ง โคนผลติดกัน ปลายผลแหลม ผิวผลเป็นมันลื่น พอแก่แล้วจะแตกอ้าออก ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลมีขนปุยสีขาวติดอยู่และปลิวไปตามลมได้ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีหรือรูปกลมยาวแบน มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ใบ, เถา, เมล็ด

สรรพคุณ เถาเอ็นอ่อน :

  • เถา ต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ
  • ใบ มีรสเบื่อเอียน ใช้โขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี
  • เถา มีรสขมเบื่อมัน ต้มดื่มบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้ขัดยอก
  •  

    เมล็ด มีรสขมเมา ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้จุกเสียดแน่นเฟ้

[su_quote cite=”The Description”]เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น[/su_quote]

Scroll to top