แก่นตะวัน

แก่นตะวัน

ชื่อสมุนไพร : แก่นตะวัน
ชื่ออื่นๆ
: แห้วบัวตอง , ทานตะวันหัว , มันทานตะวัน , โทปินัมเบอร์ (ฝรั่งเศส) , กิราโซล (อิตาลี)
ชื่อสามัญ : Jerusalem artichoke , Sunchoke  ,  Sunroot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus tuberosus L. 
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแก่นตะวัน เป็นพืชประเภทล้มลุก มีอายุสั้น ประมาณ 120-180 วัน มีลำต้นเหนือดินลักษณะกลม เปลือกลำต้นมีสีม่วงเข้ม มีขนยาวแข็ง ขนาดลำต้นประมาณ 1-3 เซนติเมตร สูงประมาณ 1.5-2เมตร ส่วนลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว เป็นลำต้นสะสมอาหาร หัวมีลักษณะแบ่งเป็นแง่งยาว และเป็นตะปุ่มตะป่ำเป็นแนวยาว ตามความยาวของหัว เปลือกบาง มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาวกรอบ ขนาดหัวประมาณ 2-6 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 6-20 เซนติเมตร ส่วนรากเป็นรากแขนงที่แตกออกบริเวณโคนต้น
  • ใบแก่นตะวัน เป็นใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามสลับฉากกัน แต่ละใบมีก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร ใบมีรูปหอก กว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ฐานใบรูปสอบแคบ ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบเรียบ เนื้อใบบาง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบทั้งด้านบน และด้านล่างมีขนสั้นแข็งปกคลุม แผ่นใบมีเส้นแขนงใบ 6-9 เส้น
  • ดอกแก่นตะวัน ดอกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกหลัก ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร จากนั้นแตกก้านดอกย่อยออก แต่ละดอกมีขนาด 6-8 เซนติเมตร ลักษณะเป็นทรงกลมแบน ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีเหลือง คล้ายกับดอกทานตะวันหรือบัวตองแต่เล็กกว่า
  • ผลแก่นตะวัน ผลมักเรียกเป็นเมล็ด มีลักษณะมีรูปลิ่มคล้ายเมล็ดดาวเรือง ปลายเรียวยาว เปลือกผลมีสัน 4 สัน สีน้ำตาลอ่อน มีลายสีน้ำตาล และมีขนสั้นแน่นปกคลุม ขนาดผลกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ด้านในเป็นเนื้อเมล็ด 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว

สรรพคุณ แก่นตะวัน :

  • หัว ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก แก้ท้องเสีย
Scroll to top