ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

ชื่อสมุนไพร : ขมิ้นอ้อย
ชื่ออื่นๆ
: ว่านขมิ้นอ้อย, ว่านเหลือง (กลาง), สากเบือ (ละว้า), ขมิ้นขึ้น (เหนือ), ละเมียด (เขมร), ขมิ้นเจดีย์ (ทั่วไป), ขี้มิ้นหัวขึ้น(ภาคอีสาน)
ชื่อสามัญ : Zedoary,Luya-Luyahan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma zedoaria Zberg. Roscoe
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขมิ้นอ้อย เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีมีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้ารากกลมมีเนื้อนุ่มภายใน ทั้งนี้ขมิ้นอ้อยมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่ารวมถึงขนาดเหง้าและใบก็ใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตรลำต้นตั้งตรง แตกหน่อมาก ส่วนเหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้น ๆ (จึงเป็นที่มาของชื่อขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวแกมเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองอ่อน
  • ใบขมิ้นอ้อย เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแคบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มและมีเส้นนูนตามลายของเส้นใบ เส้นกลางใบเป็นร่องเล็กน้อยและมีแถบสีน้ำตาล ผิวด้านหน้าเรียบ ส่วนทางด้านท้องใบจะมีขนนิ่มเล็กน้อย ก้านใบเป็นกาบหุ้มกับลำต้น นานเป็นลำต้นเทียมมีความยาวเป็น 1 ใน 3 ของใบ กลางก้านเป็นร่องลึกตลอดความยาว
  • ดอกขมิ้นอ้อย ออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกจะยาวและพุ่งออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกมีความยาวประมาณ 15เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ช่อดอกมีใบประดับ และดอกมักเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่สีเขียว ตรงปลายของช่อดอกจะเป็นสีชมพูหรือสีแดงอ่อน ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นบน และจะบานครั้งละประมาณ 2-3 ดอกในฤดูฝน
  • ผลขมิ้นอ้อย มีลักษณะเป็นรูปไข่ เช่นเดียวกับผลของขมิ้นชัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ  เหง้าที่อยู่ใต้ดิน ใช้ได้ทั้งสดและแห้ง

สรรพคุณ ขมิ้นอ้อย :

  • ใบ รสเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ช้ำบวม
  • เหง้า รสฝาดเฝื่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้พิษโลหิต แก้ลม รักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไธรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก แก้เลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียน ไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ
     เหง้าสดตำผสมกับการบูรเล็กน้อย ดอกน้ำฝนกลางหาว รินเอาน้ำหยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว ตาพิการ หรือหัวใช้สมานแผล ใช้ผสมปรุงยาท้องอืดเฟ้อ
  • เหง้าสด ตำผสมการบูรเล็กน้อย ดองน้ำฝนกลางหาว รินเอาน้ำ หยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว ตาพิการ
Scroll to top