ขี้ตุ่น

ขี้ตุ่น

ชื่อสมุนไพร : ขี้ตุ่น
ชื่ออื่นๆ :
ปอขี้ไก่, ไม้หมัด, ปอเต่าไห้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ป่าเหี้ยวหมอง, หญ้าหางอ้น, เข้ากี่น้อย (ภาคตะวันออก), ปอมัดโป (ภาคตะวันตกเฉียงใต้), ขี้อ้น (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicteres angustifolia L.
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขี้ตุ่น  เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ทุกส่วนมีขนเป็นรูปดาว ปกคลุม หนาแน่น
  • ใบขี้ตุ่น ใบเดี่ยว รูปหอกแกมรูปไข่ กว้าง 1.4-5 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน
  • ดอกขี้ตุ่น สีม่วงอ่อน ออกเป็นกระจุก ตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร กลีบรองดอก เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 กลีบ ไม่เท่ากัน มีขน กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบมน โคนสอบแคบเป็นก้าน มีติ่ง 2 อัน เกสรผู้ 15 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมกันเป็นหลอด
  • ผลขี้ตุ่น รูปขอบขนาน ยาวถึง 3 เซนติเมตร มีขนฟูปกคลุมแน่น เมล็ดรูปไข่หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เมื่อแห้งมีสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, ทั้งต้น

สรรพคุณ ขี้ตุ่น :

  • ใบ รสเฝื่อนขม ตำพอก หรือทา แก้คางทูม สมานบาดแผล
  • ราก รสเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้หวัดแดด แก้ร้อนใน แก้บิดเรื้อรัง
  • ทั้งต้น รสเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้หวัดแดด แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ แก้ปวดเมื่อยเนื่องจากถูกความร้อนความเย็นหรือแดดและลมมาก แก้ฝีประคำร้อย กัดเสมหะ สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้แท้งได้
Scroll to top