บัวตอง

ชื่อสมุนไพร : บัวตอง
ชื่ออื่นๆ :
ดาวเรืองญี่ปุ่น ทานตะวันหนู เบญจมาศน้ำ (กรุงเทพฯ), บัวตอง (ทั่วไป), พอมื่อนื้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tithonia diversifolia (Hemsley) A. Gray
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นบัวตอง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 4 เมตร มีไหลอยู่ใต้ดิน ทุกส่วนของต้นมีขนสีขาว
  • ใบบัวตอง เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปไข่แกมบัวตองสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-30 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวแกมเทา มีขนสั้นและต่อมเล็กทั้งสองด้าน

 

  • ดอกบัวตอง เป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ริ้วประดับมีประมาณ 3-4 ชั้นเรียงกันเป็นรูประฆัง ดอกมีขนาดเส้นบัวตองผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-14 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองสด ดอกวงนอกเป็นรูปช้อนหรือเป็นรูปรางน้ำขอบขนาน ปลายจัก ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบมีประมาณ 12-15 กลีบ เป็นหมัน ส่วนดอกวงในมีขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ดอกวงในเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศและมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อับละอองเรณูเป็นสีดำ ที่ปลายสีเหลือง
  • ผลบัวตอง ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายและโคนผลสอบ เมล็ดล่อน ไม่แตก ผนังผลแยกออกจากกัน ผลมีขนาดยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ยอดอ่อน, ดอก

สรรพคุณ บัวตอง :

  • ใบสด นำมาย่างไฟ วางบนศีรษะ ใช้ผ้าพันแผลไว้ แก้ปวดศีรษะ
  • ยอดอ่อน นำมาเผา แล้วขยี้ใช้ทาผื่นคันที่ขึ้นตามตัว
  • ดอก ใส่แผลและแผลช้ำ

บัวตองเป็นพืชที่ทนต่อความร้อนและความแห้งแล้ง สามารถขยายทรงพุ่มให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในต่างประเทศเช่น ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกและออสเตรเลีย จะพบตามข้างถนนและรบกวนพืชท้องถิ่นได้เป็นวงกว้าง มีการปล่อยสารพิษยับยั้งการเติบโตของพืชต้นอื่น มีอายุยืนยาว ต้นแตกหน่อได้ดี นอกจากนี้บัวตองมีเมล็ดที่มีน้ำหนักเบาและผลิตได้จำนวนมาก จึงสามารถแพร่พันธุ์ไปได้อย่างรวดเร็

Scroll to top