ละหุ่ง

ชื่อสมุนไพร : ละหุ่ง
ชื่ออื่นๆ : 
 มะโห่ง , มะโห่งหิน ,มะหุ่ง (ภาคเหนือ) , ละหุ่งขาว , ละหุ่งแดง (ภาคกลาง,ทั่วไป, ,ปี่มั้ว(จีน) , Ricinus (สเปน,โปรตุเกส)
ชื่อสามัญ : Castor, Castor bean, Castor oil plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Ricinus communis  Linn.
ชื่อวงศ์ :   Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นละหุ่ง ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 6 เมตร
    ละหุ่งขาว ลำต้นและก้านใบจะเป็นสีเขียว
    ละหุ่งแดง ลำต้นและก้านใบจะเป็นสีแดง ยอดอ่อนและช่อดอกเป็นนวลขาว
    ละหุ่งขาว ละหุ่งแดง
  • ใบละหุ่ง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร รูปฝ่ามือ มี 6-11 แฉก ปลายแฉกแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ขนาดไม่เท่ากัน ปลายจักเป็นต่อม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร โคนใบแบบก้นปิด เส้นแขนงใบเรียงจรดปลายจักที่มีขนาดใหญ่ ก้านใบยาว 10-30 เซนติเมตร มีต่อมที่ปลายก้าน หูใบเชื่อมติดกันรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ติดตรงข้ามใบ โอบรอบกิ่ง ร่วงง่าย
  • ดอกละหุ่ง ออกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่งหรือที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ บางครั้งแยกแขนง  มีทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่ช่วงบน ดอกเพศเมียอยู่ช่วงล่าง ก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ในดอกเพศเมียเรียวแคบกว่า เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็นกลุ่มๆ แตกแขนง รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด มีเกล็ดคล้ายหนามปกคลุม ก้านเกสร 3 อัน ยาวเท่าๆ กลีบเลี้ยงบางแยกเป็น 3-5 แฉก ติดทน ไม่มีกลีบดอก ก้านดอกยาว ไม่มีจานฐานดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายเป็น 5 หยัก รูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ร่วงง่าย
  • ผลละหุ่ง เป็นผลแห้งแบบแคปซูล ทรงรี ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มี 3 พู รูปไข่ สีเขียว ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวมีขนคล้ายหนามอ่อน ทั้งผล คล้ายผลเงาะ เมล็ดทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว คล้ายตัวเห็บ เนื้อในสีขาว
    ละหุ่ง ละหุ่ง
  • เมล็ดละหุ่ง มีพิษ มีน้ำมัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, น้ำมันจากเมล็ด

สรรพคุณ ละหุ่ง :

  • น้ำมันจากเมล็ด  รสมันเอียน มีฤทธิ์ระบายอุจจาระสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ (ต้องสกัดเอาแต่น้ำมันจากเมล็ดเท่านั้น ไม่ติดส่วนอื่นมาจะเป็นพิษได้ วิธีบีบน้ำมันจากเมล็ดต้องไม่ใช้ความร้อน ถ้าบีบโดยใช้ความร้อนจะมีโปรตีนที่เป็นพิษชื่อ “ricin” ติดมาด้วย ไม่ใช้ทำยา)
  • เมล็ด  นำเมล็ดมาทุบแล้วเอาจุดงอกออก ต้มกับนมครึ่งหนึ่ง แล้วต้มกับน้ำเพื่อทำลายพิษ กินแก้ปวดข้อปวดหลัง ตำเป็นยาพอกแผล
  • ใบสด  รสจืดขื่น มีฤทธิ์ฆ่าแมลงบางชนิดได้ ต้มกินเป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง ขับน้ำนม ขับระดู ขับลม เผาไฟพอกแก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ และแผลเรื้อรัง ตำเป็นยาพอกฝี แก้ช้ำรั่ว(อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่) แก้เลือดลมพิการ
  • ราก  รสจืด ตำเป็นยาพอกเหงือกแก้ปวดฟัน ต้มกินเป็นยาระบาย รากใช้สุมเป็นถ่านทำเป็นยารับประทานแก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมาน

ข้อควรระวัง

  • เมล็ด มีพิษมาก ถ้ากินเพียง 2-3 เมล็ด ปากและคอจะไหม้พอง เลือดออกในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระมีเลือด ตับและไตถูกทำลาย ความดันโลหิตลดลงอาจทำให้ตายได้ 
Scroll to top