หมากผู้หมากเมีย

ชื่อสมุนไพร : หมากผู้หมากเมีย
ชื่ออื่นๆ :
หมากปู๊ , ปู๊หมาก , หมากผู้ (ภาคเหนือ) , มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง) , ทิฉิ่งเฮี้ยะ , เที่ยชู (จีน)
ชื่อสามัญ :  Cabbage palm , Good luck plant , Palmm lily , Red dracaena , Polynesian , Ti plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyline fruticosa (L.) Gopp.
ชื่อวงศ์ : ASPARAGACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหมากผู้หมากเมีย เป็นไม้พุ่ม ลำต้นเป็นลำต้นเดี่ยว หรือ อาจแตกกอในบางสายพันธุ์ลำต้นมีลักษณะตรงและอาจมีการแตกกิ่ง สูงประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีรอยการติดใบรอบๆลำต้น
    หมากผู้หมากเมีย
  • ใบหมากผู้หมากเมีย ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแตกออกตามข้อของลำต้นซ้อนกันถี่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 20-50 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบใบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นลอนคลื่นเล็กน้อยและมีสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ เช่นสีเขียวล้วน แดงล้วน เขียวแถบเหลือง หรือเขียวแถบแดง
    หมากผู้หมากเมีย
  • ดอกหมากผู้หมากเมีย ออกดอกเป็นช่อ ยาวประมาณ 12 นิ้ว โดยจะออกบริเวณยอดลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปทรงกระยอก ดอกเป็นสีม่วงแดงหรือสีชมพูสลับด้วยสีเหลืองอ่อน ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน มีรังไข่ 3 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีผลอ่อน 4-6 ผล ดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
    หมากผู้หมากเมีย
  • ผลหมากผู้หมากเมีย ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลม มีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร ผลสุกสีแดง มีหลายเมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ราก, หัว

สรรพคุณ หมากผู้หมากเมีย :

  • ใบ เป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ไอเจ็บกระเพาะอาหาร ไอเป็นเลือด พอกหรือทา บริเวณที่เป็นบาดแผล
  • ดอก เป็นยาแก้วัณโรคปอด ไอ เป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด และเป็นริดสีดวงทวาร ใช้พอก ห้ามเลือด แก้บวมอักเสบ
  • รากและหัว ยาแก้บิด ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย และแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
Scroll to top