ชื่อสมุนไพร : เกล็ดมังกร,
ชื่ออื่น ๆ : กะปอดไม้ (เชียงใหม่ ชพ), เบี้ย (กลาง), กระดุมเสื้อ, เกล็ดลิ่น (ชัยภูมิ อุบลราชธานี), อีแปะ (จันทบุรี), เบี้ยไม้, กีบม้าลม (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาตร์ : Dischidia nummularia R.Br.
ชื่อพ้อง : Dischidia minor
วงศ์ : ASCLEPIASACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเกล็ดมังกร เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นพัน เลื้อยเกาะยึดกับลำต้นไม้อื่นย้อยห้อยเป็นสายลง
- ใบเกล็ดมังกร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปกลมหรือรูปวงรีแกมรูปโล่ ขนาดเล็ก ปลายใบแหลมเป็นติ่งขนาดเล็ก โคนใบแหลม-มน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-11 มิลลิเมตร ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ยาวได้เพียง 1-2 มิลลิเมตร ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนขึ้นประปราย
- ดอกเกล็ดมังกร ออกเป็นช่อสั้น ๆ ลักษณะของดอกกลีบ และกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ คล้ายรูปคนโท กลีบดอกมีสีแดง ยาวประมาณ 3 มม. ปลายกลีบเว้าเล็กน้อย ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียเชื่อมติดกัน
- ผลเกล็ดมังกร มีลักษณะเป็นฝักโค้ง บริเวณเหนือจุดกึ่งกลางแหลมเรียวเป็นจะงอยใต้จุดกึ่งกลางเป็นรูปรีเบี้ยว ข้างในฝักมีเมล็ดแบนขนาดของฝักยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น ใบสด
สรรพคุณ เกล็ดมังกร :
- ทั้งต้น แก้อักเสบ ปวดบวม ถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ (ไข้ที่มีตุ่มที่ผิวหนัง ตุ่มอาจมีสีดำ) พิษตานซาง (โรคพยาธิในเด็ก มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย พุงโรก้นปอด ตกใจง่าย ไม่ค่อยทานอาหาร ซูบซีด ผอมแห้ง ท้องเดิน อุจจาระผิดปกติ อาจมีกลิ่นคาวจัด ชอบกินอาหารคาว) พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
- ใบสด นำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลพุพอง