เสม็ดแดง

ชื่อสมุนไพร : เสม็ดแดง
ชื่ออื่นๆ :
 ไคร้เม็ด, ยีมือแล, เสม็ด, เม็ก, เสม็ดชุน, เม็ดชุน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium gratum (Wight)S.N. Mitra
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเสม็ดแดง เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ต้นแก่มักบิดงอ ขนาดของลำต้นค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง สีเปลือกไม้ออกสีน้ำตาลแดง กิ่งก้านแตกออกเป็นทรงพุ่มที่มีใบหนาเสม็ดแดง
  • ใบเสม็ดแดง เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีแคบหรือรูปไข่ โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม เส้นขอบใบปิด ผิวสัมผัสที่หน้าใบเรียบลื่น มีสีเขียวเข้มเสมอกันทั้งใบ จะมีสีอื่นแซมเข้ามาเล็กน้อยบริเวณก้านใบและปลายใบ ซึ่งสีก็เปลี่ยนไปตามสายพันธุ์เสม็ดแดง
  • ดอกเสม็ดแดง สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8-12 เซนติเมตร ดอกไม่มีก้านดอก ฐานรองดอกรูปถ้วย ปากแคบ ขนาด 4-10 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ รูปมนขนาด 1-4 มิลลิเมตร เกสรผู้จำนวนมาก ยาว 5-10 มิลลิเมตรเสม็ดแดง
  • ผลเสม็ดแดง สีขาวขุ่น ขนาด 8-12 มิลลิเมตร เป็นผลทรงกระบอกสั้น มีขนาดเล็กประมาณครึ่งเซนติเมตร และจะออกผลติดกันเป็นพูยาว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ

สรรพคุณ เสม็ดแดง :

  • ใบ รสหอมร้อน ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็ก แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก

ใบเสม็ดมีประโยชน์หลายด้าน สามารถทานสดเป็นผักเครื่องเคียง เป็นผักทานสด ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อนหรือใบอ่อน จะมีรสฝาด มัน อมเปรี้ยว บริโภคเป็นผักสด เป็นเครื่องเคียงน้ำพริกต่าง ๆ หรือขนมจีนน้ำยา ทานกับลาบ หรืออาหารประเภทยำทุกชนิด หรือต้มดื่มแบบน้ำชาได้ ถ้านำใบสดมาบดละเอียดแล้วพอกตามผิวหนังก็จะลดฟกช้ำได้ดี

นอกจากนี้ยังสกัดเอาน้ำมันเขียวแล้วทานเพื่อช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด และลดการระคายเคืองในช่องคอขณะที่มีเสมหะ

 

Scroll to top