กรรณิการ์

ชื่อสมุนไพร : กรรณิการ์
ชื่ออื่น ๆ
: กันลิกา, กรรณิกา
ชื่อสามัญ : Night Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbortristis Linn.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE  

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกรรณิการ์ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 – 4 เมตร ตามลำต้นจะมีรอยเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น เปลือกของลำต้นนั้นมีสีขาว ลักษณะของลำต้นและกิ่งก้านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ ประเป็นแนวอยู่ด้วย
    ต้นกรรณิการ์
  • ใบกรรณิการ์ เป็นไม้ใบเดี่ยวแต่ออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีรูปมนรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวและมีขนอ่อนๆ เป็นละอองปกคลุมอยู่ทั่วใบ มีลักษณะสากคายมือ
    กรรณิการ์
  • ดอกกรรณิการ์ สีขาว ออกเป็นช่อดอกเล็ก ๆ กระจายที่ปลายกิ่ง ประมาณช่อละ 5 – 8 ดอก แต่ละดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน วงในดอกเป็นสีแสด หลอดดอกเป็นสีแสด เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 1.50 – 2 เซนติเมตร หลอดดอกยาว 1.50 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 – 8 แฉก ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่ ดอกของกรรณิการ์มีกลิ่นหอมแรง บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี
    กรรณิการ์
  • ผลกรรณิการ์ เป็นแผ่นแบนๆ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด
    กรรณิการ์

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เปลือกต้น, ดอก, ต้น, ราก

สรรพคุณ กรรณิการ์ :

  • ต้น มีรสหวานเย็นฝาด แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้ปวดข้อ
  • ใบ มีรสขม เป็นยาบำรุงน้ำดี เจริญอาหาร แก้ไข้ แก้ปวดข้อ เป็นยาระบาย แก้ตานขโมย
  • ดอก มีรสขมหวาน แก้ไข้ และลมวิงเวียน
  • ราก มีรสขมฝาด เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเส้นผม บำรุงผิวหนังให้สดชื่น แก้ลมและดี แก้ผมหงอก บำรุงผิวหนัง แก้ท้องผูก แก้พรรดึก และแก้ไอ
  • เปลือกต้น มีรสขมเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดศีรษะ
Scroll to top