กรุงเขมา

ชื่อสมุนไพร : กรุงเขมา
ชื่ออื่นๆ :
หมอน้อย(อุบลราชธานี), ก้นปิด(ตะวันตกเฉียงใต้), ขงเขมา, พระพาย(ภาคกลาง), เปล้าเลือด(แม่ฮ่องสอน), สีฟัน(เพชรบุรี), เครือหมาน้อย(อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman.
ชื่อวงศ์ : Menispermaceae

กรุงเขมาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกรุงเขมา เป็นไม้เถา เถา กิ่ง ใบ และช่อดอกมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่น
  • ใบกรุงเขมา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลม รูปหัวใจหรือรูปไต ก้นปิด กว้างยาว 2-10 ซม. บางครั้งอาจกว้างมากกว่ายาว ปลายแหลมหรือเป็นติ่งหนาม โคนมน ตัดหรือเว้าเล็กน้อย เมื่อยังอ่อนมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน และตามขอบใบ แต่จะร่วงไปเมื่อใบแก่ ก้านใบยาว 2-10 ซม.
  • ดอกกรุงเขมา ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบ ยาว 2-8.5 ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2 มม. ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 4 กลีบ โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบเลี้ยงเกสรเพศผู้มัดเดี่ยวยาวกว่ากลีบเลี้ยง อับเรณูติดกันเป็นรูปจาน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อกระจะที่ง่ามใบ ยาว 2.5-5 ซม. ก้านดอกสั้นมาก ใบประดับรูปกลม หรือรูปไต ซ้อนเหลื่อมกันแน่น ไม่ร่วง ปลายเป็นติ่งหนาม มีขน กลีบเลี้ยง 1 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบดอก 1 กลีบ ออกตรงข้ามกับกลีบเลี้ยง และสั้นกว่า
  • ผลกรุงเขมา ผลค่อนข้างกลม สีแดง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 ซม. มีขน มีเมล็ดเดียว เล็ก แข็ง รูปโค้ง หรือเป็นรูปเกือกม้า ผิวขรุขระ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบ, ลำต้น

สรรพคุณ กรุงเขมา :

  • ราก มีกลิ่นหอม รสสุขุม ใช้แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ ยาช่วยย่อย แก้ท้องร่วง บวมน้ำ แก้ไอ ขัดเบา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และใช้ในรายถูกงูกัด เป็นยาลดไข้ แก้ปวดท้อง โรคหนองใน บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง
  • รากและใบ พอกเป็นยาเฉพาะที่ แก้โรคผิวหนัง หิด
  • ลำต้น ดับพิษไข้ทุกชนิด บำรุงโลหิตสตรี เป็นยาพอกแก้ตาอักเสบ
  • ใบ แก้ร้อนใน พอกแผล ฝี แก้แผลมะเร็ง แก้หืด ใช้ทาภายนอกแก้หิด

กรุงเขมา กรุงเขมา

Scroll to top