กูดแดง

กูดแดง

ชื่อสมุนไพร : กูดแดง
ชื่ออื่นๆ :
ลำเพ็ง, ปรงสวน, ปรงสวย, ผักยอดแดง, ผักกูดแดง, ผักกูดมอญ (กลาง); ลำมะเท็ง (ประจวบฯ, นครราชสีมา); ปากุ๊มะดิง (มลายู-ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stenochlaena palustris (Burm.f.) Bedd.
ชื่อวงศ์ : PTERIDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกูดแดง ลำต้นทอดขนานพันต้นไม้อื่น ปลายยอดมีสเกลสีน้ำตาลรูปค่อนข้างกลมปกคลุม ซึ่งมักจะหลุดไปเมื่อต้นแก่
  • ใบกูดแดง เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อยติดสองข้างของก้านใบ ใบที่สร้างสปอร์และใบที่ไม่สร้างสปอร์มีรูปร่างต่างกันชัดเจน ที่ไม่สร้างสปอร์ใบทั้งใบจะยาวประมาณ 45 – 80 ซม. มีใบย่อยออกสองข้างของก้านใบ ใบย่อยแต่ละใบรูปร่างคล้ายคลึงกัน คือมีก้านใบสั้นๆ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ฐานใบขอบแหลม แผ่นใบเรียบเป็นมัน มีขนาด 12.5 x 2.5 ซม. ใบสร้างสปอร์จะเกิดที่ยอด ใบย่อย มีขนาดประมาณ 20 ซม. X 3 ซม. โดยมีกลุ่มของอับสปอร์คลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน ยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก ยอดอ่อน เถา

สรรพคุณ กูดแดง :

  • ราก รักษาแผลงูกัด
  • ยอดอ่อน เป็นยาบำรุงเลือด ใช้เป็นผักสดได้ทำให้เป็นยาระบาย รักษาอาการบวมของกล้ามเนื้อและแผลฟกช้ำดำเขียวรักษาอาการอัมพาต แก้นิ่ว
  • เถา เป็นยาบำรุงสตรีหลังคลอดบุตร

วิธีการปรุงยา :
ยอดอ่อน ตำให้ละเอียดพอกบริเวณแผล
ทั้ง 5 (ราก, ลำต้น, ใบ, ดอก, ผล) ต้มดื่มเฉพาะน้ำ 

[su_quote]ใบและยอดอ่อนสามารถนำมารับประทานเป็นผักสด หรือใช้ปรุงเป็นอาหารได้ ส่วนเถาของลำต้นมีความเหนียวและทนทาน สามารถนำมาสานเป็นตระกร้าได้[/su_quote]

ถิ่นกำเนิด และ พื้นที่ที่พบ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในประเทศ พบตามริมห้วย ที่ลุ่มป่าพรุ  ที่ชื้นแฉะ ป่าดิบชื้น และพบขึ้นพันต้นไม้ใหญ่ในป่า

ผักกูดแดง เป็นพืชในวงศ์เฟิร์น พบมีการกระจายพันธุ์อยู่มากตามป่าดิบชื้น หรือตามป่าพรุในที่ลุ่มชื้นแฉะ มักเลื้อยพันไปตามต้นไม้ใหญ่ๆ ในป่า สามารถพบเห็นได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด ลวกจิ้ม หรือใส่ในแกงเลียง แต่ในปัจจุบันจะพบพืชชนิดนี้ได้น้อยลง เนื่องจากมีการบุกรุกทำลายป่ากันมากขึ้น

Scroll to top