คื่นไช่

คื่นไช่

ชื่อสมุนไพร : คื่นไช่
ชื่ออื่น ๆ
: คื่นช่าย , คื่นฉ่าย , คื่นไช่ (ทั่วไป),ผักกันปืน , ผักปืน , ผักปืม , ผักขาวปืน (ภาคเหนือ) , ขึ่งฉ่าย , ฮั่งขึ่ง (จีนแต้จิ๋ว),ฉินช่าน , ฮั่นฉิน (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ : Celery , Smaltage
ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn.
ชื่อวงศ์ UMBELLIFERAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นคื่นไช่ เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะมีอายุประมาณ 1-2 ปี พรรณไม้นี้จะมีอยู่ 2 พันธุ์ พันธุ์ หนึ่งเป็นคื่นช่ายจีน (Chinese celery ) มีขนาดลำต้นเล็กและสูงประมาณ 1 ฟุตเศษส่วนอีพันธุ์หนึ่งเป็นขึ้นฉ่าย (celery) จะมีลำต้นอวบใหญ่มาก มีขานดของลำต้นนี้นจะสูงประมาณ 1.5-2 ฟุตทุกส่วนของต้น นั้นจะมีกลิ่นหอม และสีของลำต้นนั้นค่อนข้างขาวเหลือง ทั้งต้นจะอ่อนนิ่ม
  • ใบคื่นไช่ จะเป็นใบประกอบออกตรงข้าม สีใบเป็นสีเหลืองอมเขียวใบย่อยเป็นรูปลีมหยัก ขอบใบจะหยัก คื่นช่ายจีน(Chinesecelery)ใบค่อนข้างเขียวแก่ ส่วนขึ้นฉ่าย(celery)ใบจะมีสีเหลืองอมเขียว
  • ดอกคื่นไช่ จะออกเป็นช่อสีขาว เป็นช่อดอกแบบซี่ร่ม (compound Umbels)
  • ผลคื่นไช่ ลักษณะของผลนั้นจะเล็กมาก เป็นสัน มีสีน้ำตาล

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, เมล็ดที่แก่, ผล

สรรพคุณ คื่นไช่ :

  • ต้นสด ใช้ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับระดู แต่งกลิ่นอาหาร ลดความดัน กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ช่วยลดจำนวน sperm
  • เมล็ด ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย รักษาอาการปวดตามข้อเนื่องจากไขข้ออักเสบหรือน้ำหนักตัวมากเกินไป รักษาโรคหืด ใช้ขับประจำเดือนและขับลม
  • ผล จะมีน้ำมันหอมระเหยสีเหลือง 2-3 % ประกอบด้วย d-limonene 60%, d-elinens 10% ,Seanonicฟแรก anhydride 0.5% และ sedanolide 2.5%

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]
ลดความดัน ใช้ทั้งต้นสด 1 กำมือ นำมาตำ คั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะรับประทานหรืออาจจะใช้รับประทานสดเป็นผักสลัด หรือใช้ผัดรับประทานก็ได้หรือจะใช้ต้นสด 1-2 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ กรองเอากากออก ใช้รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

ขับปัสสาวะ ใช้ทั้งต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ผัด และทำสลัดรับประทานก็ได้

แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ทั้งก่อนและหลังการมีประจำเดือน ด้วยการใช้ขึ้นฉ่ายสด 1 ขีด / รากบัวสด 1 ขีด / ขิงสด 1 ขีด / พุทราแดงจีนแบบแห้ง 1/2 ขีด นำมาต้มรวมกันในหม้อโดยกะน้ำพอท่วมยามากหน่อย ต้มจนเดือนแล้วนำมาดื่มก่อนหรือหลังมีประจำเดือน ถ้าหากช่วงไหนปวดช่วงไหนก็ให้ดื่มบ่อย ๆ หรือจิบกินเรื่อย ๆ แบบน้ำชา จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

รักษาโรครูมาติกและโรคเกาต์ ด้วยการใช้ผักขึ้นฉ่ายประมาณ 3-4 ต้น นำมาต้มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง

ส่วนในตำรับยาไทย ระบุถึง รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้ตามสรรพคุณตามตำรายาไทยว่า หากใช้รักษาภายใน ให้ใช้ต้นสด 30-60 กรัม คั้นเอาน้ำ หรือต้นแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำดื่มหรืออาจจะบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนกินก็ได้ส่วนควรใช้เป็นยาภายนอก ให้ตำละเอียดแล้วพอก[/su_spoiler]

Scroll to top