คำแสด

คำแสด

ชื่ออื่น : สมุนไพร
ชื่ออื่น :
กายขัดหิน, ขี้เนื้อ, กือบอ, ซาบอเส่, ขางปอย, ซาดป่า, ขี้เต่า, คำแดง, ทองทวย, มะคาย, แสด, ชาตรีขาว, ทองขาว, แทงทวย, พลับพลาขี้เต่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mallotus philippensis M
ชื่อวงศ์ : EUPHOBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นคำแสด เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมักมีร่อง ที่กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม และมียางสีแดง
  • ใบคำแสด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บ้างว่ายาวได้ประมาณ 4-22 เซนติเมตร หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนอยู่หนาแน่นและมีต่อมเกล็ดเป็นจำนวนมาก มีเส้นแขนงใบ 3 เส้นใบ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล และมีก้านใบยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ส่วนหูใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร
  • ดอกคำแสด ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและตามปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยช่อดอกเพศผู้จะมีความยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร ออกเป็นกลุ่มประมาณ 3-4 ดอก ดอกเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร ดอกไม่มีกลีบดอก แต่มีเฉพาะกลีบเลี้ยงดอก 3-4 กลีบ และดอกมีเกสรเพศผู้ 15-20 อัน ส่วนช่อดอกเพศเมียจะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โดยดอกเพศเมียจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร เป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีกลีบเลี้ยงดอกมีประมาณ 3-6 กลีบ มีรังไข่ 2-3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียจะยาวได้ประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก และยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และตามช่อดอกทุกส่วนจะมีขนปกคลุม
  • ผลคำแสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น แบ่งออกเป็นพู 3 พู ผลมีขนาดประมาณ 0.7-0.9 เซนติเมตร ผิวของผลมีขนสั้นและต่อมผงเล็ก ๆ สีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม ผลเมื่อแห้งจะแตกออกตามพู ภายในมีเมล็ดสีดำ ลักษณะของเมล็ดคำแสดเป็นรูปทรงรี มีความยาวประมาณ 0.4 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ด, ใบ, ดอก, เปลือกต้น

สรรพคุณ คำแสด :

  • เมล็ด ให้สารสีแสด ชื่อสาร Bixin
    – ใช้แต่งสีอาหารประเภทไขมัน เช่น ฝอยทอง เนย ไอศครีม
    – ใช้ย้อมผ้าฝ้าย หรือ ผ้าไหมได้ด้วย
    ** องค์การอนามัยโลกกำหนดให้รับประทานสีที่สกัดจากเมล็ดคำแสดได้ไม่เกิน 0.065 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน
    – มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ลดไข้ ฝาดสมาน
  •  ดอก มีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงเลือด แก้โลหิตจาง แก้แสบร้อนคันตามผิวหนัง รักษาโรคไตผิดปกติ แก้บิด แก้พิษ ฝาดสมาน
  •  ใบ แก้ดีซ่าน แก้เจ็บคอ ลดไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ
  •  เนื้อหุ้มเมล็ด – เป็นยาระบายและขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง ใช้แต่งสีอาหาร และเนย
  •  เปลือกราก – ใช้ป้องกันไข้มาเลเรีย ลดไข้ และโรคหนองใน

[su_spoiler title=”สารเคมี : ที่พบ” style=”fancy” icon=”arrow-circle-2″]เนื้อหุ้มเมล็ด ให้สีที่เรียกว่า annatto ซึ่งเป็นสีอนุญาตให้ใช้ประกอบอาหารได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2515) annatto ประกอบด้วยสาร Bixin (C25 H30 O4) สีแสดสด และสาร Bixol (C18 H30 O) สีเขียวเข้ม ใช้แต่งสีอาหารประเภทเนย และเนยเทียม (margarine) สีที่ได้จากเมล็ดคำแสด มีความคงทนและมีสีเข้มกว่าสีที่ได้จากแคโรทีนในต่างประเทศ นิยมใช้กันในผลิตภัณฑ์นม เช่น เนยเหลว เนยแข็ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ผสมในยาขัดหนังที่ให้สีแดงคล้ำ[/su_spoiler]

Scroll to top