ขอบชะนาง

ขอบชะนาง

ชื่อสมุนไพร : ขอบชะนาง
ชื่ออื่น ๆ
:  ขอบชะนางขาว, หนอนตายอยากขาว, หนอนขาว (ไทยภาคกลาง),
                ขอบชะนางแดง, หนอนตายอยากแดง, หนอนแดง (ไทยภาคกลาง), หญ้าหนอนตาย (เหนือ), หญ้ามูกมาย (สระบุรี), ตาสียาเก้อ, ตอสีเพาะเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pouzolzia pentandra Benn.
ชื่อวงศ์ :  URTICACEAE.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขอบชะนาง เป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า และเลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดจะตั้งขึ้น มี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดง กับ ขอบชะนางขาว และมีลำต้นขนาดโตกว่าก้านไม่ขีดไฟเล็กน้อย
    ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว
  • ใบขอบชะนาง เป็นใบเดี่ยวจะออกสลับกัน รูปเป็น รูปปลายหอก ในขอบใบชะนางแดง ส่วนรูปใบของขอบใบชะยางขาว จะมีลักษณรูปค่อนข้างมนและกลม เส้นใบของทั้งสองชนิด จะเห็นเด่นชัดเป็น 3 เส้น ใบจะโตประมาณ 2 กระเบียดนิ้ว ยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 1 นิ้วฟุต ส่วนสีและใบของต้นขอบชะนางจะสีม่วงอมแดง เฉพาะแผ่นใบนั้นสีจะเด่นชัดคือ หลังใบจะมีสีเขียวเข้มอมแดง ท้องใบจะเป็นสีแดงคล้ำ และสีของขอบใบชะนางเป็นสีขางอ่อน ๆ รวมทั้งชนิดจะมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ
  • ดอกขอบชะนาง จะมีขนาดเล็ก และจะออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบและกิ่งเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ดอกของขอบชะนางแดงมีสีแดงส่วนดอกของขอบชะนางขาวจะเป็นสีเขียวอมเหลือง
  • ผลขอบชะนาง แห้งไม่แตกแบบ achene

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ต้นและดอก, ใบสด, เปลือกของต้น

สรรพคุณ ขอบชะนาง :

  • ทั้งต้น นำมาปิ้งไฟและชงกับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก
  • ต้นและดอกใบ จะมีรสเมาเบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาในปากไหปลาร้าที่หนอน อีกไม่นานหนอนก็จะตาย
  • ต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง วัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย
  • เปลือกของต้น ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมันทาริดสีดวง หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้เค็มนำมารักาาโรครำมะนาด
  • ขอบชะนางทั้ง 2 (แดง-ขาว) ชนิด นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด และขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน
Scroll to top