ชื่อสมุนไพร : ข่อย
ชื่ออื่น ๆ : กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), สัมพล (จังหวัดเลย), ส้มพ่อ, ส้มฝ่อ (หนองคายภาคเหนือ), ขรอย, ขันตา, ขอย (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Siamese rough bush, Tooth brush tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นข่อย ไม้ต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 10 – 20 เมตร ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปมหรือผิวขรุขระเล็กน้อย เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปทรงกระบอกทึบ ลำต้นสีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น
- ใบข่อย เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเล็กและหนากรอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบจะสากระคายคล้ายกับกระดาษทราย
- ดอกข่อย ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกเพศผู้จะรวมกันเป็นช่อดอกแบบหัวกลม และมีก้านดอกที่สั้น มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบขาว ส่วนดอกเพศเมียนั้นก้านดอกจะยาวและมักออกเป็นคู่สีเขียว
- ผลข่อย ลักษณะรูปทรงกลมคล้ายกับเมล็ดพริกไทย สีขาวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในเป็นเส้นใยสีขาวและมียางสีขาวซึมออกมาเมื่อถูกตัด เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อนใส
- เมล็ดข่อย เป็นเมล็ดเดี่ยว กลมและแข็ง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ด, ใบ, ปลือก, ราก
สรรพคุณ ข่อย :
- ใบสด รสเมาเฝื่อน ย่างไฟพอเหลืองและกรอบ ชงน้ำดื่มทำให้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- เมล็ด รสเมามันร้อน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับลม รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหาร
- เปลือกต้น รสเมาฝาดขม แก้อาการท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้ รักษารำมะนาด รักษาแผล ดับพิษในกระดูกและเส้นเอ็น แก้โรคผิวหนัง หุงเป็นน้ำมันทาริดสีดวง
- ราก รสเมาฝาดขม ใช้เป็นยาใส่แผล
- เปลือกราก รสเมาขม เป็นยาบำรุงหัวใจ