ข่าหด

ข่าหด

ชื่อสมุนไพร : ข่าหด
ชื่ออื่นๆ :
ค่าหด, เก็ดลิ้น, ลบลีบ, ผาหด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Engelhardtia spicata Blume.
ชื่อวงศ์ : JUGLANDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นข่าหด เป็นไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นได้ชัด ลำต้นมักคดงอ เปลือกหนาสีเทา แตกเป็นร่องลึก
  • ใบข่าหด เป็นใบประกอบ ช่อใบเรียงเวียนสลับ ใบย่อย 1-6 คู่ ใบอ่อนมีขนสาก ส่วนใบแก่เกลี้ยง ขอบใบเรียบ จะทิ้งใบหมดก่อนออกดอก
  • ดอกข่าหด ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกช่อกัน ดอกเพศผู้รวมกันอยู่เป็นช่อสั้นๆ แบบหางกระรอก ส่วนดอกเพศเมียอยู่รวมกันเป็นช่อยาวห้อยย้อยลง แต่ละดอกมีกาบบางๆ รูปสามเหลี่ยมสีเหลืองอ่อนรองรับ และกาบนี้จะเจริญเป็นกาบของผลต่อไป
  • ผลข่าหด กลมแข็ง โตไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขนแข็งคลุมแน่น มีแฉกกาบเป็นรูปสามง่ามติดอยู่ ง่ามกลางจะยาวที่สุดประมาณ 4 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกลำต้น, เนื้อไม้

สรรพคุณ ข่าหด :

  • เปลือกลำต้น ยารักษาอาการปวดฟัน ช่วยให้มดลูกหดตัวเร็ว ยารักษาตุ่มคันในเด็ก ยาสมานแผลอักเสบ
  • เนื้อไม้ รสร้อนเมา ขับเลือดลม บำรุงกำลัง
Scroll to top