คว่ำตายหงายเป็น

คว่ำตายหงายเป็น

ชื่อสมุนไพร : คว่ำตายหงายเป็น
ชื่ออื่น :
กระลำเพาะ, ต้นตายใบเป็น, นิรพัตร, เบญจฉัตร, กะเร, กาลำ, แข็งโพะ, โพะเพะ, ต้นตายปลายเป็น, ตาละ, ปะเตียลเพลิง, เพรอะแพระ, มะตบ, ล็อบแล็บ, ลุบลับ, ลุมลัง, ยาเท้า, ส้มเช้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.
ชื่อวงศ์ : CRASSULACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  •  คว่ำตายหงายเป็น เป็นไม้ล้มลุก สูง 1 เมตร อวบน้ำ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมากนัก เมื่อยังอ่อนตามข้อจะบวมมีสีเขียวและมีจุดสีม่วงแต้ม
  • ใบคว่ำตายหงายเป็น เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยัก รูปรีแกมรุปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร โคนและ ปลายใบมน เนื้อใบหนา อวบ ตรงขอบใบมีสีม่วง
  • ดอกคว่ำตายหงายเป็น ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบรองดอก แยกเป็นแฉก กลีบดอกด้านสีแดง ด้านล่างสีเขียว เป็นหลอด
  • ผลคว่ำตายหงายเป็น เมื่อแก่จัดจะแห้งและแตกด้านข้าง เมล็ดรูปขอบขนานแกมรี มีขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ทั้งต้น

สรรพคุณ คว่ำตายหงายเป็น :

  • ใบ, ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยให้คลอดง่าย ตำพอกหรือทาแก้ปวดกระดูก กระดูกหัก แผลไฟไหม้
  •  ตำคั้นน้ำ แก้บิด ท้องร่วง อหิวาตกโรค นิ่ว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ปวดอักเสบ ฟกบวม รักษาฝี ถอนพิษ น้ำคั้นในผสมการบูร ทาถูนวด แก้เคล็ด ขัดยอก และเเพลง กล้ามเนื้ออักเสบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ใบเผาไฟเล็กน้อย หรือตำพอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา

[su_quote]สรรพคุณแบบที่ใช้
พื้นบ้านอาเซียนที่ใช้ตรงกัน คือ ใช้ใบสด บดรักษาแผลไฟไหม้ชนิดไม่เป็นมากหรือเล็กน้อย ฝี โรคผิวหนัง
ในฟิลิปปินส์และอินเดีย โดย เป็นที่รู้จักดีสำหรับการใช้ห้ามเลือดและช่วยให้แผลหาย นอกจากนี้ยังใช้ในการรักษาหูดที่เท้าอีกด้วย[/su_quote]

Scroll to top