ฝ้ายตุ่น

ชื่อสมุนไพร : ฝ้ายตุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium herbaceum  L.
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นฝ้ายตุ่น เป็นไม้พุ่ม ลำต้น มีสีน้ำตาลแดงอาจเป็นเหลี่ยม สูงได้ถึง 1.5 เมตร
    ฝ้ายตุ่น
  • ใบฝ้ายตุ่น ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ก้านใบค่อนข้างยาว มีหูใบหลุดร่วงง่าย ก้านใบยาว 2.5-8 เซนติเมตร แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร มักจะกว้างกว่ายาว แฉกรูปไข่กว้าง ผิวใบด้านบนมีขนนุ่มปกคลุม ผิวใบด้านล่างมีขนรูปดาว ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม
  • ดอกฝ้ายตุ่น ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร มีขนคล้ายกำมะหยี่ ริ้วประดับเชื่อมติดที่ฐาน เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ยาว 2-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปถ้วย แยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร แต่ละกลีบกว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูความยาวเท่าๆกัน
  • ผลฝ้ายตุ่น ผลทรงรี แบ่งเป็น 3-4 ช่อง เมล็ดทรงกรวย ขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตร ภายในผลมีเส้นใยสีขาวอัดแน่น
    ฝ้ายตุ่น ฝ้ายตุ่น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ราก

สรรพคุณ ฝ้ายตุ่น :

  • ปลือกต้น และราก ปรุงรับประทานเป็นยาขับโลหิตระดู ทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง อาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ง่าย
    รับประทานเป็นยาต้ม 1 ใน 5 หรือน้ำยาสกัดและทิงเจอร์ (1ใน 4) ครั้งละ 2-4 ซีซี.
Scroll to top