เขี้ยวงู

เขี้ยวงู

ชื่อสมุนไพร : เขี้ยวงู
ชื่ออื่นq :
เล็บลอก, เขี้ยวงา, เครือ, คำตึ่งเครือคำ, ตึ่งเครือคำตัวเมีย,  ฝอยทอง, ฝอยไหม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cuscuta reflexa Roxb.
ชื่อวงศ์ : LOGANIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเขี้ยวงู เป็นไม้เถาเลื้อย พาดพันอาศัยอยู่บนไม้อื่น ลำต้นเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว หรือสีทองแกมเขียว อวบน้ำ และมีลักษณะคล้ายเส้นหนวดแข็งแรง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2.5 มิลลิเมตร และมีความยาวได้ประมาณ 1-3 เมตร มีรากพิเศษแทงเข้าไปในใบพืชที่อาศัยเพื่อแย่งอาหาร

  • ใบเขี้ยวงู  ไม่มีหรือมีใบแต่มีขนาดเล็กมากคล้ายเกล็ดสีเขียวอ่อน

  • ดอกเขี้ยวงู ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกย่อยมีประมาณ 2-3 ดอก ดอกมีขนาดเล็กและค่อนข้างกลม มีกลิ่นหอมมากในตอนเช้า ก้านดอกไม่มี กลีบดอกเป็นสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดหรือเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ลักษณะงองุ้ม มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.6-0.8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ยาวได้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร
  • ผลเขี้ยวงู ลักษณะผลรูปกลมแบน เมื่อแห้งแตกได้ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลมรี เมล็ดเป็นสีเหลืองอมเทา

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ลูก, เถา, ราก

สรรพคุณ เขี้ยวงู :

  • ใบ รสเมาร้อน แก้โรคผิวหนัง
  • ลูก รสเมาร้อน ถ่ายท้องเด็ก
  • เถา รสเมาร้อน แก้โลหิตเป็นพิษ แก้สันนิบาตหน้าเพลิง แก้วัณโรค ดับพิษในข้อกระดูกในเส้นเอ็น แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิในท้อง แก้กามโรค แก้ปวดเสียดแทงในท้อง เป็นเถาเป็นดาน
  • ราก รสเมาร้อน แก้ริดสีดวงลำไส้

ในตำรายาจีนมีการรับรองว่าต้นเขี้ยวงูมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เพิ่มสมรรถนะทางเพศในผู้ชาย บำรุงตับ ทำให้ชะลอวัย มีอนุมูลอิสระจำนวนมาก ป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • ชาวบ้านในถิ่นอีสานนำส่วนลำต้นอ่อนมารับประทานเป็นผักจิ้มแจ่วหรือน้ำพริก

  • หมอพื้นบ้านอีสานใช้ฝอยทอง (เขี้ยวงู) ตำรวมกับวุ้นของว่านหางจระเข้ นำมาใช้ทารักษาสะเก็ดเงิน

Scroll to top