ชื่อสมุนไพร : เข็มทอง
ชื่ออื่น : เข็มแดง, บือเจาะปูโยะ, ยารง(มลายู-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora javanice (Blume) DC.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :
- ต้นเข็มทอง เป็นพืชจำพวกต้น ไม้พุ่ม สูง 1.5-5 เมตร
- ใบเข็มทอง ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม แผ่นใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ถึงรูปขอบแกมรูปไข่กลับ ยาว 7-17 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายใบ แหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ เส้นแขนงใบ 6-8 คู่ ก้านใบยาว 0.3-10 ซม. หูใบรูปสามเหลี่ยมฐานกว้าง ปลายเรียวแหลม
- ดอกเข็มทอง สีเหลืองส้มถึงแสด กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน เป็นหลอด ดอกเป็นช่อกระจะตามปลายกิ่ง ยาว 5-8 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ดอก 2-2.5 ซม. ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี
- ผลเข็มทอง ผลแก่สีดำ กลม เส้นผ่านศูนย์กลางผล 8-10 ซม. มี 2 เมล็ดต่อผล
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบ, ดอก, ผล
สรรพคุณ เข็มทอง :
- ราก มีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร
- ใบ ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ
- ดอก แก้โรคตาแดง ตาแฉะ
- ผล แก้โรคริดสีดวงในจมูก