โคกกะสุน

โคกกะสุน

ชื่อสมุนไพร : โคกกะสุน
ชื่ออื่น ๆ 
: กาบินหนี (ชื่อเรียกในตำรับยา) , โคกกระสุน (ภาคกลาง) , หนามดิน (ตาก) , ไปจี๋ลี่ , ซือจี๋ลี่ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tribulus terrestris Linn.
ชื่อวงศ์ ZYGOPHYLLACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นโคกกะสุน เป็นไม้เถาล้มลุกเลื้อยคลุมดิน มักแตกกิ่งกันไปโดยรอบ ส่วนของปลายยอดจะชูตั้งขึ้น ตามลำต้นมีขนขึ้นปกคลุมโดยแต่ละต้นสามารถยามได้ถึง 150 เซนติเมตร
  • ใบโคกกะสุน เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ มีใบย่อย ซึ่งมีขนาดประมาณ 2.5×6.5ซม. ปลายใบแหลมมน ขอบใบเรียบ และมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน
  • ดอกโคกกะสุน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลืองมีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 4-8 มิลลิเมตร โดยดอกจะออกตามซอกใบหรือตามข้อของลำต้น
  • ผลโคกกะสุน ผลเป็นรูปแบบกลมแบบแห้งแล้วแตก โดยซีกผลเป็นแบบผลผักชี กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 4-5 มิลลิเมตร แบ่งได้เป็น 5 ซีก ส่วนเปลือกผลหนาและแข็งเป็นหนามแหลม ที่เรียงเป็น 2 คู่ เนื้อแข็งซึ่ง ใน 1พูจะมี 2 – 5เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ โคกกะสุน : 

  • ทั้งต้น ใช้ปรุงเป็นยาได้หลายขนาด เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาปัสสาวะพิการ หรือจะปรุงเป็นยา รักษาโรคหนองในใช้ขับระดูขาวรักษาโรคไตพิการ
    ต้มน้ำดื่มหรือผสมน้ำผึ้งปรุงเป็นยาลูกกลอนรับประทาน แก้ปวดท้อง ขับลม
    ผสมแก่นมะเดื่อปล้อง และรากมะเดื่อชุมพร ต้มน้ำดื่ม รักษาวัณโรค

ในประเทศอินเดียใช้หนามกระสุน เป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงอสุจิในเพศชาย แก้โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ  ปัจจุบันในต่างประเทศยังได้มีการนำหนามกระสุนมาทำเป็นสารสกัด เพื่อเสริมสมรรถภาพทางเพศและเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงใช้กระตุ้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับนักกีฬาอีกด้วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์กระตุ้นกำหนัด มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์กระตุ้มความกำหนดในหนูแรทพบว่า สารสกัดหนามกระสุนสามารถเพิ่มแรงดันขององคชาตในหนูแรทที่ถูกทำหมั้นได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ประสิทธิภาพยังน้อยกว่าฮอร์โมนเพศชาย (testosterone)และอีกงานวิจัยหนึ่งระบุว่าจากการศึกษาผลแบบเฉียบพลันในลิงและการศึกษาผลแบบเรื้อรังในกระต่ายและหนูแรทโดยให้กินสารสกัดหนามกระสุนพบว่าระดับ testosterone ของสัตว์ทดลองทั้งหมดสูงขึ้น

Scroll to top