คนทีเขมา

คนทีเขมา

ชื่อสมุนไพร : คนทีเขมา
ชื่ออื่น ๆ
: กูนิง(มาเลเซี – นราธิวาส), กุโนกามอ(มาเลเซีย – ปัตตานี), หวงจิง(จีนกลาง),อึ่งแกง(แต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex negundo Linn.
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นคนทีเขมา เป็นพรรณไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 6 เมตร กิ่งนั้นจะมีกลิ่นหอม ส่วนกิ่งอ่อนจะเป็นเหลี่ยม มีสีเทาและจะมีขนอ่อนปกคลุมด้วย
  • ใบคนทีเขมา เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5 หรือ 3 ใบ โดย 3 ใบบนจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 ใบล่าง ใบบนมีก้าน ส่วนใบล่างไม่มีก้าน ใบมีกลิ่น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบยาวแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีขาว ปกคลุมไปด้วยขนอ่อน
  • ดอกคนทีเขมา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีอยู่เป็นจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบดอกแตกออกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย เชื่อมติดกันที่โคน ปลายกลีบล่างแผ่โค้ง กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกมีเกสรเพสผู้ 4 อัน
  • ผลคนทีเขมา ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปกลม แห้งเปลือกแข็งเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือก, ใบ, ผล, ช่อดอก, ราก

สรรพคุณ คนทีเขมา :

  • ใบ ใช้ผสมในน้ำอาบ เพื่อให้มีกลิ่นหอม หรือจะใช้ทาหน้าผาก รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไข้หวัด เจ็บคอ ไอ โรคปวดตามข้อ หูอื้อ รักษาบิดไม่มีตัว ลำไส้อักเสบ รักษาไข้มาลาเรีย ดีซ่าน บวมฟกช้ำ กลาก เกลื้อน ฝี เชื้อรา ที่ เท้า บาดแผลจากของมีคม สุนัข หรือตะขาบกัด ไล่แมลง
  • ผล ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาไข้หวัด หอบหืด ได เหน็บชา รักษาไข้มาลาเรีย ไข้รากสาดน้อย (typhoid fever) ปวดท้องโรคกระเพาะ กระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ฝีคัณฑสูตร
  • ช่อดอก ใช้เป็นยาลดไข้ ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย
  • ราก ใช้เป็นยารักษาไข้หวัด ขับเสมหะ ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ รักษาโรคไข้มาเลเรีย โรคปวดตาม ข้อ โรคกระเพาะอาหาร ขับพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด)
Scroll to top