คอแลน

คอแลน

ชื่อสมุนไพร : คอแลน
ชื่ออื่นๆ
: กะเบน, คอรั้ง, สังเครียดขอน (ภาคใต้), ขาวลาง, มะแงว, หมากแงว, หมักแงว, หมักงาน (ภาคอีสาน), คอแลน (ภาคกลาง ภาคเหนือ), คอแลนตัวผู้, ลิ้นจี่ป่า (ตะวันออกเฉียงใต้), มะแงะ, หมักแงว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก)
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Nephelium hypoleucum Kurz
วงศ์  : Sapindaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นคอแลน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 10 – 20 เมตร ลำต้นเปลา (สูงชะลูด ไม่มีกิ่งที่ลำต้น) โคนต้นอาจมีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ เรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ
  • ใบคอแลน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ออกเป็นช่อ ติดเรียงสลับยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน แกมรูปไข่ ติดตรงข้าม 1-3 คู่ โคนใบมนและเบี้ยว ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจาง
  • ดอกคอแลน ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว ออกรวมกันเป็นช่อขนาดใหญ่ ที่ปลายกิ่ง ทุกส่วนของช่อมีขนสีเทาทั่วไป โคนกลีบรองดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ส่วนกลีบดอกไม่มี มีเกสรตัวผู้ 5 เส้น มีรังไข่กลมและมีขนปกคลุม
  • ผลคอแลน ผลมีรูปรีหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผิวขรุขระเป็นปมเล็กๆ กระจายทั่วไป เปลือกภายนอกมีลักษณะคล้ายกับลิ้นจี่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงเข้ม แต่ละผลมีเมล็ดเดียว มีเนื้อเยื่อในใสและชุ่มน้ำ หุ้มเมล็ด เนื้อคล้ายเงาะมีรสเปรี้ยว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, เนื้อไม้, เปลือก

สรรพคุณ คอแลน :

  • ผลแก่ รับประทานได้ เป็นยาระบาย มีรสเปรี้ยวจัด นิยมกินกับน้ำปลา เกลือ หรือน้ำปลาหวาน
  • เนื้อไม้ รสฝาด ปรุงเป็นยาห้ามเลือด
  • ผล เป็นยากระจายเลือด
  • เปลือก เป็นยาบำรุงเลือด
Scroll to top