ข่า

ชื่ออื่น ๆ : ข่า, ข่าใหญ่, ข่าหลวง, ข่าหยวก (เหนือ), เสะเออเคย, สะเชย(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Glalangal, Greater Galangal,Chinese Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galanga Sw.,Alpinia galanga Stunz.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นข่า ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 1.5 – 2 เมตร มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีข้อและปล้องชัดเจน เลื้อยขนานพื้นดินและแตกแขนงเป็นแง่ง เหง้าหัวมีขนาดใหญ่ด้วนสีขาว ลำต้นเทียมเหนือดินคือส่วนของกาบใบที่หุ้มซ้อนทับกันมีสีเขียวทรงกระบอกกลม เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว แตกใบเวียนรอบต้น ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบและบางช่วงเป็นคลื่น ปลายใบเป็นติ่งแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเฉียงและสอบเรียวเข้าหาก้านใบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม.
  • ดอกข่า ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ตรงปลายยอด แกนกลางช่อมีขนและดอกดช่อจะจัดอยู่ด้วยกันอย่างหลวมๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีใบประดับรูปไข่ลักษณะเป็นกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด ดอกสีขาวขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่มีริ้วสีแดง
  • ผลข่า ลักษณะรูปทรงกระบอกหรือกลมรี ขนาดเท่าเม็ดบัว ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีแดงอมส้ม และภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีดำ มีรสขมและเผ็ด ผลแห้งแตกได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าอ่อนและเหง้าแก่

สรรพคุณ ข่า :

  • เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน รสเผ็ดร้อนขม แก้ฟกช้ำ แก้บวม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่น แก้กลาก เกลื้อน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนในท้อง รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ขับลมในสตรีหลังคลอดบุตร ใช้ภายนอกรักษาอาการคันในโรคลมพิษ ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ลมพิษ แก้โรคปวดบวมตามข้อ หลอดลมอักเสบ มีฤทธิ์กดหัวใจ กระตุ้นการหายใจ กดการหายใจ กระตุ้นการหายใจในเด็ก เป็นยาธาตุ
  • ผล รสเผ็ดร้อนฉุน ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้บิด แก้แน่นหน้าอก
  • ต้นแก่ นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ
    สารสกัดจากข่า มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีฤทธิ์ทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน
  • ใบ รสเผ็ดร้อน แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ต้มอาบแก้ปวดเมื่อยตามข้อ
  • ต้น รสเผ็ดร้อนซ่า ต้นแก่โขลกผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้ตะคริว แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ
  • ดอก รสเผ็ดร้อน เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
  • หน่อ รสเผ็ดร้อนหวาน บำรุงไฟธาตุ แก้ลมแน่นหน้าอก
  • เหง้าและราก รสร้อนปร่า ขับลม แก้ปวดท้อง ท้องเสีย จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
  • ราก รสร้อนปร่า ขับเสมหะ ขับโลหิต แก้เหน็บชา ขับหลอดลม

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง” icon=”arrow”]รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง : ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย[/su_spoiler]

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน” icon=”arrow”]รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
     ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร[/su_spoiler]

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : รักษาลมพิษ” icon=”arrow”]รักษาลมพิษ ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น[/su_spoiler]

[su_spoiler title=”สารเคมี :” icon=”arrow”]1 – acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene 2 – terpineol, terpenen 4 – ol, cineole, camphor, linalool, eugenol[/su_spoiler]

Scroll to top