มะลิลา

ชื่ออื่น : มะลิ, มะลิลา(ทั่วไป), มะลิซ้อน(ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่(เชียงใหม่), มะลิหลวง(แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม(ภาคเหนือ), ข้าวแตก(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน(ละว้า-เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum Sambac (L.) Aiton
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • มะลิลา เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร
  • ใบมะลิลา ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม.
  • ดอกมะลิลา ดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา
  • ผลมะลิลา ผลสด (berry) สีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, ดอกแก่

สรรพคุณ มะลิลา :

  • ใบมะลิลา, รากมะลิลา ทำยาหยอดตา
  • ดอกแก่มะลิลา เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
  • รากมะลิลา ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
  • ใบมะลิลา ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม
Scroll to top